เทคนิคเลือกโรงเรียน
ครอบครัววิชัยย้ายจากภูเก็ตมาอยู่ที่กรุงเทพฯ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ไม่ใช่เป็นเพราะพวกเขากำลังมองหาบ้านหรืองานในฝันหรอก แต่เป็นเพราะพวกเขา กำลังค้นหาโรงเรียนในฝันให้กับลูกของเขาต่างหาก ตอนอยู่ภูเก็ตลูก ๆ 3 คน เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาของเอกชนที่รวมค่าใช้จ่ายในการส่งลูกทั้งสามของเขา เข้าเรียนโรงเรียนดังกล่าวคิดเป็นเงินกว่า 500,000 บาทต่อปี วิชัยและภรรยา จึงพร้อมใจกันโบกมือลาเพราะเกินกว่าที่พวกเขาทั้งคู่จะรับมือกับค่าเล่าเรียน แพงระยิบของลูกได้ ทั้งคู่ตัดสินใจที่จะเข้ามากรุงเทพฯ เพื่อหาโรงเรียนรัฐบาลดีๆ ให้กับลูกๆ ได้เรียนสักแห่งและแน่นอนสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยก็คือ ค่าเล่าเรียน จะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับฐานะของครอบครัวด้วย
เกณฑ์ในการประเมินโรงเรียนที่มีคุณภาพนั้น นอกจากเรื่องราคาแล้ว ก็มีหลักง่ายๆ ที่พ่อแม่จะสามารถสังเกตได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขนาดพื้นที่ อาณาบริเวณโรงเรียน ขนาดของชั้นเรียน เพื่อนๆ ที่เรียนอยู่ในชั้นเดียวกันกับลูก รายได้ของผู้ปกครองส่วนใหญ่ที่ส่งลูกเข้าโรงเรียนนั้น และผลของคะแนนสอบ
ภรรยาของวิชัยเยี่ยมชมโรงเรียนมา 3 โรงเรียนแล้ว หลังจากนั้น เธอก็จะจดโน้ต ข้อสังเกตของแต่ละโรงเรียนเอาไว้เปรียบเทียบกัน และก็นำไปปรึกษากับวิชัยตอนหลังจากที่เขากลับจากที่ทำงาน เมื่อได้ที่เหมาะสมกับโรงเรียนลูกแล้ว ทั้งคู่ก็ตัดสินใจไปเช่าบ้าน ที่อยู่ใกล้กับโรงเรียนใหม่ของลูกทั้งสาม เพื่อที่จะได้ไม่ให้ลูกเหน็ดเหนื่อย กับการเดินทางไปโรงเรียนจนเกินไปในแต่ละวัน พูดง่ายๆ ก็คือว่า ทั้งวิชัยและภรรยาไม่ต้องการให้ลูกของพวกเขานั้นโตในรถนั่นเอง!
ในกรณีของคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นเองอาจจะไม่ต้องย้ายบ้านข้ามจังหวัดมา อย่างครอบครัวคุณวิชัยก็ได้ในการที่จะเลือกโรงเรียนให้ลูก เพราะขณะนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่มีทางเลือกมากขึ้นแล้วเกี่ยวกับเรื่องนี้ เนื่องจากมีประมาณ 1 ใน 5 ของเด็กๆ ที่เข้าเรียนในโรงเรียน ที่พ่อแม่เป็นคนเลือกให้เขาแล้วเด็กมีปัญหาขึ้นมาในภายหลัง เด็กก็จะไม่มีความสุขกับการเรียนหนังสือที่โรงเรียน และจะเกลียดโรงเรียนในที่สุด
ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยินดีที่จะมอบทางเลือกให้กับลูกตัวเล็กๆ ด้วยการให้เขามีสิทธิ์มีเสียงในการที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเลือกโรงเรียน สำหรับที่จะให้เขาไปเรียนและใช้เวลาอยู่กับที่นั่นมากกว่าที่จะให้เขาไปเรียน และใช้เวลาอยู่กับที่นั่นมากกว่า 6 ปี เด็กจะมีความสุขมาก โดยพ่อแม่จะต้องเดินสำรวจโรงเรียนที่หมายตาเอาไว้ แล้วใช้เวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ในการทัวร์โรงเรียนที่คุณตั้งใจจะให้ลูกไปเรียนที่นั่น "อย่างแรกเลย ฉันต้องค้นหาแนวทางของโรงเรียนนั้นให้ได้ก่อน ดูวิธีคิดของผู้บริหารโรงเรียน ที่ผ่านมาจากรูปแบบนโยบายในโรงเรียน" คุณแม่ของลูกสาววัย 5 ขวบ คนหนึ่งให้ความเห็น
นักจิตวิทยา Howard Gardner มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าว "เมื่อพ่อแม่ไปเดินสำรวจโรงเรียนให้ลูกอาจจะสังเกตจากกิจกรรม ในชั้นเรียนของเด็กๆ ว่า พวกเขามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชั้นเรียน มากน้อยแค่ไหน ? มีเสียงสนทนาปรึกษาถึงกิจกรรมที่คุณครูมอบหมายให้ทำ หรือได้ยินแต่เสียงของครูตะโกนสั่งงานนักเรียนปาวๆ หรือไม่ก็เป็นเสียงเงียบกริบของนักเรียนทั้งชั้น ?" คุณควรจะดูงานของนักเรียนที่ติดอยู่ตามบอร์ดข้างฝาผนัง โครงการวิทยาศาสตร์ งานประดิษฐ์ของเด็กๆ หนังสือ และรวมถึงสื่อวัสดุ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนด้วยว่า เด็กสามารถเรียนรู้ให้เข้าใจได้ง่ายหรือยาก
Willis Hawleg Ph.D. ศาสตราจารย์ทางด้านการศึกษา ของมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ได้ไปเยี่ยมชมโรงเรียนประถมบางแห่ง ที่ได้คะแนนจัดอันดับอยู่สูงสุดและต่ำสุดในรัฐ เขาพบว่าในโรงเรียนที่ได้คะแนน อยู่ในระดับสูง เด็กนักเรียนจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับงานของโรงเรียนที่อยู่ในระดับสูงกว่า ในการสังเกตการประเมินผลของโรงเรียน Dr.Hawley แนะนำ "ดูว่าเด็กนักเรียนจำนวนเท่าไหร่ที่กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ผมไม่ได้หมายความถึงเฉพาะแค่ในเวลาที่อยู่ในห้องเรียนเพื่อฟังเล็กเชอร์เท่านั้น แต่หมายความไปถึงนอกห้องเรียนด้วย และบทสนทนาของเด็กที่พูดคุยกัน ถึงการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ภายมในโรงเรียนด้วย"
ในแต่ละชั้นเรียนมีนักเรียนเท่าไหร่ ?
ผลการวิจัยรายงานว่า พ่อแม่และครูมีความสงสัยกันมานานแล้วว่า ชั้นเรียนที่มีเด็กน้อยคนนั้น จะดีกว่าชั้นเรียนที่มีเด็กมากคนจริงหรือไม่ ? ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาคาดการณ์ว่า เด็กๆ จำเป็นที่จะต้องอยู่ในชั้นเรียน ที่มีขนาดเล็ก นั่นคือ จำนวนเด็กในชั้นเรียนมีไม่มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงของเด็กที่อยู่ระดับชั้นประถมตอนต้น เพื่อครูผู้สอนจะได้สามารถดูแลเด็ก ในห้องได้อย่างทั่วถึง และมีโอกาสได้มีการสอนเด็กแต่ละคนได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น
เด็กที่เรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมปีที่สามนั้น ควรจะมีจำนวนไม่เกิน 13-17 คนต่อหนึ่งชั้นเรียนแต่ในสภาวะการณ์ที่เป็นจริง ชั้นเรียนจะมีเด็กอยู่ประมาณ 22-25 คนต่อชั้นเรียน ซึ่งมีจำนวนสูงกว่า 11% ของเด็กนักเรียนที่ควรจะมีทั้งหมด จากผลการวิจัยนี้ประธานาธิบดีคลินตัน ของสหรัฐอเมริกาได้เสนอให้ใช้เงินจำนวน 12 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการลดจำนวนชั้นเรียนของเด็กระดับประถม 1-3 ให้อยู่ประมาณ 18 คนต่อชั้นเรียน ภายในระยะเวลา 7 ปี
ในเวลาต่อมาระดับชั้นประถม ชั้นเรียนอาจเพิ่มจำนวนเป็น 20 คนได้ ถ้าไม่มีผลกระทบทางด้านการเรียนรู้ที่เป็นทางลบเกิดขึ้น Ronald Ferguson Ph.D Senior Research associate ของโรงเรียนจอห์นเอฟ เคเนดี้ กล่าว "นักเรียน 25 คนต่อหนึ่งชั้นเรียนนั้น มันไม่ได้แย่มากมายอะไรนัก แต่นั่นหมายความว่าจะมีเด็กไม่น้อยกว่า 3 คน ที่จะมีการรับรู้ในเรื่องของการเรียน แตกต่างไปจากเด็กคนอื่นแล้ว"
คณะผู้แทนของโรงเรียนคือใคร และวิธีบริหารโรงเรียนจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร ?
เรื่องที่จอดรถอันคับแคบของโรงเรียนก็เป็นปัญหาด้วยเหมือนกัน สนามเด็กเล่นที่มีแสงสว่าง และถังขยะเพียงพอ ฝาผนังที่มีภาพวาดของเด็กๆ บนกำแพง แต่เร็วๆ นี้โรงเรียนส่วนใหญ่จะมีกฎใหม่ "ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ จะมีวิสัยทัศน์ในเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนที่ยาวไกลมากขึ้น ในเรื่องการพัฒนาโรงเรียนก็ดีขึ้นและยังดึงพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาโรงเรียนด้วย มันคล้ายกับการซื้อบ้านที่มีคุณภาพ คุณต้องรู้ว่ามันตั้งอยู่บนถนนไหน ที่มีทำเลดีที่สุดนั่นเอง"
ค้นหาโรงเรียนที่มีครูและกฎที่บอกว่า "1 เสียงของท่าน คือ เป้าหมายที่จะนำโรงเรียนของเราไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน" ลองถามคุณครูสัก 2-3 คนว่ากฎของโรงเรียนที่มีอยู่นั้นจะให้ใครเป็นตัวแทนของเสียงส่วนใหญ่ในโรงเรียน ถ้าคำตอบออกมาในเชิงที่เห็นด้วยกับคุณ โรงเรียนนั้นมีเป้าหมายที่ชัดเจน
สอนการอ่านอย่างไร ?
ในทศวรรษที่ผ่านมา มีการพัฒนาในเรื่องของการพัฒนาการเรียนรู้ ให้เด็กเรียนรู้วิธีอ่านหนังสือมากขึ้นในขณะที่มีการโต้เถียงกันบ้าง ในแวดวงการศึกษาเกี่ยวกับ การอ่านควรจะสอนใช้ภาษาทั้งหมด (โฟกัสการอ่านเอาเรื่อง) หรือ การพูด (เน้นทักษะการอ่านออกเสียง) รายงานการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การผสมวิธีการสอนทั้งสองอย่างเข้มข้นนั้น จะได้ผลมากที่สุด
ดูชั้นเรียนที่มีการสอนให้เด็กเขียนหนังสือได้ดี ครูควรจะอ่านให้นักเรียนฟังดังๆ และนักเรียนแต่ละคนก็ควรจะอ่านด้วย ไม่ใช่อ่านตามกันเป็นหมู่ทั้งห้อง เพราะครูจะได้สังเกตการออกเสียงของเด็กได้ว่าถูกหรือผิดชัดหรือไม่ชัด ในขณะที่การเขียนจะช่วยให้นักเรียนรู้การอ่าน ดังนั้น ให้ถามเด็กๆ เป็นตัวอย่างให้เห็นถึง "การเขียน" และเช็คคุณภาพและปริมาณในการเขียนของพวกเขา โดยดูจากการสะกดคำและความถูกต้องในแต่ละระดับชั้นเรียน
การศึกษาศิลปะ มีความเหมาะสมหรือไม่ ?
ในการศึกษาระดับชั้นประถม วิชาศิลปะไม่ควรพิจารณา ให้เป็นตัวเลือกจากนักเรียนประถม 920 คนใน 52 ชั้นเรียน ที่ Los Angeles Boston & Cambridge, Massachusetts แสดงให้เห็นชัดว่า นักเรียนชั้นป.1 มีจุดแข็งอยู่ที่โปรแกรมศิลปะที่ได้คะแนนสูง ข้อได้เปรียบนี้ยิ่งสูงขึ้นเมื่ออยู่ชั้น ป.2 และป.3 เด็กนักเรียนผู้ซึ่งมีหลักสูตร เรียนศิลปะทำคะแนนแยกออกจากทักษะในการเขียนได้ดี
"ศิลปะช่วยให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์" Doug Herbert, Director of Arts education for the National Endowment for the Arts in Washington, DC. กล่าว
โปรแกรมศิลปะนั้นจะครอบคลุมประวัติศาสตร์ศิลปะ การสร้างความสวยงาม และสอนเด็กให้แสดงออกว่า พวกเขาชอบอะไร หรือไม่ชอบอะไรบนชิ้นงานศิลปะ
โครงสร้างภาษาต่างประเทศล่ะ มีหรือเปล่า ?
ในโรงเรียนของเด็กชั้นอนุบาลและประถมศึกษานั้น ควรจะมีหลักสูตรให้เด็กนักเรียนได้เรียนภาษาต่างประเทศ ที่เป็นภาษาที่สองภาษาที่สาม ให้เด็กได้เรียนอย่างจริงจังด้วย ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนแล้วคุณจะต้องแปลกใจที่เด็กเล็กๆ เหล่านี้จะสามารถเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว เพราะพวกเขาจะรู้สึกสนุกไปกับการสอนของเจ้าของภาษาที่แท้จริงที่มาสอนพวกเขา ในระดับประถมศึกษานั้นหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ควรจะมีไม่น้อยกว่า 70 นาทีต่อสัปดาห์ แต่ถ้ามากกว่านี้ยิ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก เพื่อเด็กจะได้ฝึกทักษะของเขาได้ชำนาญเร็วขึ้น
มีสอนดนตรีไหม ?
ถ้าคุณกำลังหาโรงเรียนให้ลูกอยู่ล่ะก็คุณควรจะมองหาโรงเรียน ที่มีการบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาดนตรีด้วย ไม่ใช่เพียงแค่มองในเรื่องของวิชาการทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ อันเข้มงวดเท่านั้น เพราะเด็กอายุเพียงแค่ 3-4 ขวบนั้น เขาสามารถเรียนรู้ในเรื่องของดนตรีได้เร็วกว่าการเรียนวิชาการ ที่เป็นเหตุเป็นผลได้มากกว่า 34% ของการเรียนทั้งหมด
ดังนั้นการค้นหาโรงเรียนประถมดีๆ นั้นจึงน่าจะมีกิจกรรมร้องรำทำเพลง เสริมเข้าไปด้วย เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานขณะที่เรียน พ่อแม่ควรจะส่งเสริมให้ลูกได้เล่นดนตรีสัก 30-40 นาทีต่อสัปดาห์ ก็จะเป็นการดี
คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า โรงเรียนนี้สอนลูกเราให้เรียนมากไปหรือเปล่า ?
ในบางโรงเรียนจะมีเด็กนักเรียนที่ชอบเขียนนิยาย กวี โคลง กลอน วาดรูป หรือชอบทำแบบฝึกหัดก็แล้วแต่ระดับวัยของเด็กแต่ละคน ที่เขาจะเก็บสะสมผลงานแต่ละระดับชั้นไว้ใน Portfolio ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่ ควรให้ความสนใจมากกว่าคะแนนที่ลุกสอบได้ในวิชานั้นวิชานี้ เพราะผลงานของเด็กที่เก็บสะสมไว้เปรียบได้กับเป็นเครื่องมือ ที่ใช้วัดความก้าวหน้าในพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
พ่อแม่ควรจะเข้าไปมีส่วนร่วมในส่วนโยบายของโรงเรียนลูกได้อย่างไร ?
ไม่น่าสงสัยเลยว่า พ่อแม่ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษาของลูกนั้นมักจะประสบความสำเร็จในการผลักดันกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ให้กับลูกได้ทำเพื่อพัฒนาการทางสมอง ร่างกาย อารมณ์ และสังคม พ่อแม่ลักษณะนี้ จะอ่านสมุดพกลูกทุกครั้งที่คุณครูของลูกมีโน๊ตมาถึงและก็จะเขียนถามคำถาม หรือขอคำแนะนำจากคุณครูแล้วส่งกลับไปยังคุณครูของลูกด้วย การเข้าไปมีส่วนร่วมนี้อาจจะแสดงออกในลักษณะที่พ่อแม่เข้าร่วม เป็นคณะกรรมการบริหารของโรงเรียนด้วย ในกรณีที่โรงเรียนนั้นเปิดกว้าง ในเรื่องของนโยบายการบริหาร สิ่งนี้จะทำให้ทุกฝ่ายร่วมกันพัฒนาสิ่งที่ดีที่สุด ในเรื่องของการศึกษาให้กับเด็กๆ
การเลือกโรงเรียนให้ลูกตั้งแต่เขาอยู่ในระดับปฐมวัยนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่พ่อแม่จะให้ทางเลือกแก่เขา ให้เขาได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการไปสำรวจและเลือกโรงเรียนของเขาบ้าง
ที่มา : http://www.magickidschool.com/
แสดงความคิดเห็น