Accessibility help

เมนูหลัก

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

 
ที่ตั้ง
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่สี่แยกปทุมวัน หัวมุมถนนพระราม 1 และถนนพญาไท
ตรงข้ามห้างมาบุญครอง และสยามดิสคัฟเวอรี่
 
เวลาเปิดบริการ
วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-21.00 น. (หยุดวันจันทร์)
ส่วนสำนักงาน เปิดทำการตั้งแต่เวลา 9.30-18.30 น.
 
ค่าเข้าชม
ไม่มีค่าเข้าชม ยกเว้นการจัดกิจกรรม และการแสดงเป็นกรณีพิเศษ
 
Website: http://www.bacc.or.th/
 
การเดินทาง
รถประจำทาง
สาย 15, 16, 21, 25, 29, 34, 36, 40, 47, 48, 50, 54,
73, 73ก, 79, 93, 141, 159, 204, ปอ.501, ปอ.508
และ ปอ.529
 
เรือ
เรือสายในคลองแสนแสบ เส้นทางสะพานผ่านฟ้า-ประตูน้ำ ขึ้นที่
ท่าเรือสะพานหัวช้าง เดินเลียบถนนพญาไทประมาณ 300 เมตร
ถึงหอศิลปฯ สี่แยกปทุมวัน
 
รถไฟฟ้า
ลงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ โดยชั้น 3 ของหอศิลปฯ มีทาง
เดินเชื่อมต่อกับทางยกระดับสถานี รถไฟฟ้า BTS สนามกีฬา
แห่งชาติ
 
รถยนต์
เดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ
- เส้นทางถนนพญาไท (จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ข้ามสะพาน
หัวช้าง ชิดขวาเข้าทางเข้า หอศิลปฯ (ก่อนข้ามสี่แยกปทุมวัน)
 
- เส้นทางถนนพระราม 1 (จากสนามกีฬาแห่งชาติ) เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพญาไท และเลี้ยวซ้าย
เข้าทางเข้าหอศิลปฯ
 
มีทางเข้าทางด้านเดียว คือ ถนนพญาไท มีที่จอดรถให้บริการ
ชั้นใต้ดิน
 
ที่จอดรถ
มีที่จอดรถให้บริการ 2 ชั้น
ชั้นจอดรถ B1 สามารถจอดรถได้ 56 คัน
ชั้นจอดรถ B2 สามารถจอดรถได้ 62 คัน
 
ความเป็นมาของหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
 
จุดเริ่มต้น
ความคิดเรื่องการมีหอศิลป์สำหรับประชาชนในวงกว้าง เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากในอดีตนโยบายภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนในการสนับสนุนงานด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง และเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ สิ่งนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนวร่วมศิลปินไทยในการสร้างหอศิลปะร่วมสมัย เพื่อให้มีหอศิลป์ที่ทัดเทียมกับสากลและเป็นเกียรติศักดิ์ศรีกับประเทศ รวมทั้งเพื่อให้สังคมมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นทางเลือกเพื่อจรรโลงยกระดับจิตใจควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้า
ทางวัตถุ หอศิลป์สำหรับประชาชนควรเป็นการลงทุนจากภาครัฐ โดยไม่แสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ เป็นการลงทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเช่นเดียวกับการสร้างสาธารณูปโภค การสร้างหอศิลป์เปรียบเป็นสาธารณูปโภคทางสมอง หรือ softwareทางปัญญาที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการสร้าง hardware
 
การก่อสร้างหอศิลป์บริเวณย่านปทุมวันซึ่งเป็นแหล่งรวมของเยาวชนวัยรุ่น จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดพวกเขาให้หันมาสนใจและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรม ได้แสวงหาความรู้ความเข้าใจ ได้แสดงออก และพักผ่อนหย่อนใจในเวลาเดียวกัน
 
รณรงค์เพื่อศิลปะ
 
โครงการก่อการสร้างหอศิลป์ได้เริ่มขึ้นเมื่อดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ได้มีมติร่วมกับคณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2538 ให้กรุงเทพมหานครจัดสร้าง
หอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานครณ สี่แยกปทุมวัน โดยมีรูปแบบที่ผ่านการคิดและการตัดสินใจร่วมกัน อย่างไรก็ตามโครงการต้องมาสดุดหยุดลงเมื่อนายสมัคร สุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครคนต่อมา ในปี 2544 และล้มเลิกโครงการหอศิลป์ตามรูปแบบเดิมให้มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์มากขึ้นพร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงจากเดิมกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงทุนมาเป็นให้เอกชนสร้างองค์กรด้านศิลปะ ศิลปิน อาจารย์ นักศึกษา และสื่อมวลชน ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมคัดค้านการระงับโครงการเดิม มีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครในสมัยนั้นทบทวนโครงการ รวมทั้งการจัดกิจกรรมวาดภาพเขียนยาว 4 กิโลเมตร ในหัวข้อ ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้าิ การดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับโครงการฯ และการจัด "ART VOTE" โหวตเพื่อหอศิลป์ิ
 
กระทั่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี 2547 เครือข่ายศิลปินและประชาชนจึงได้นำโครงการหอศิลป์เข้าหารือ และได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครตามโครงการเดิม
 
หอศิลป์ฯเพื่อมวลชน
 
นับเป็นเวลา 10 ปี หอศิลปฯ ต้องใช้เวลาเดินทาง ผ่านการผลักดันและรณรงค์อย่างเข้มข้น จนในที่สุด อาคารหอศิลปฯ ก็เกิดขึ้น ณ สี่แยกปทุมวัน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมศิลปะระหว่างกรุงเทพมหานครและเครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร การเดินทาง สู่การรับรู้ศิลปะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว อาคารงดงามแห่งนี้เป็นเสมือนจุดนัดพบทางปัญญา ศิลปะเป็นเรื่องเข้าถึงง่ายและชื่นชมง่าย ทุกคนสามารถมารวมตัวกันเพื่อร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอันหลากหลาย นิทรรศการหมุนเวียน ดนตรี กวี ละคร ภาพยนตร์ เสวนา และวรรณกรรม เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ นำไปสู่ความเจริญทางปัญญา สุขภาพทางใจ และการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ต่อไป
 
 
อุปกรณ์ที่ส่งเสริมกิจกรรมครอบครัว
การชมงานศิลปะแขนงต่างๆ ร่วมกันทั้งครอบครัว เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในครอบครัว
 
แผนที่:
 
 
ขอบคุณข้อมูลจาก: หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร