Accessibility help

เมนูหลัก

หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

 

 

หลัก เกณฑ์ของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

    1. ผู้รับ บุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย15 ปี

    2. ผู้ เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย

    3. กรณี ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจาก

       - บิดา และมารดา กรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา

       - บิดา หรือมารดา กรณีที่มารดาหรือบิดาตาย หรือถูกถอนอำนาจการปกครอง

       - กรณี ไม่มีผู้ให้ความยินยอม ผู้แทนโดยชอบธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก็ได้

       - กรณี ผู้เยาว์ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานพยาบาลหรือสถาบัน ซึ่งทางราชการหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รับรองในการจัดตั่งขึ้น หรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของ บุคคลใดมาเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 1 ปี

ต้องได้รับความ ยินยอมของผู้รับผิดชอบในกิจการสถานพยาบาล หรือของบุคคลดัง กล่าว

    4. ผู้ จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน แต่หากมีเหตุ อย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำอนุญาตแทนคือ

       - คู่ สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้

       - คู่ สมรสไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้ รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี

    5. ผู้ เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตร บุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่จะเป็น บุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น

 

ขั้น ตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

(กรณีผู้ที่จะ เป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ )

- ผู้ที่จะรับบุตร บุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขตแห่งใดก็ได้

- ผู้รับบุตร บุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมา ให้ความยินยอม

 

(กรณีผู้ที่จะ เป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ )

- ผู้ที่รับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร(รวมทั้งชาวต่างประเทศ) ให้ยื่นคำขอ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรม (กรมประชาสงเคราะห์) และสำหรับผู้มี ภูมิลำเนาในจังหวัดอื่นยื่นคำขอ

ต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจ ให้ความยินยอม

- ชาวต่างประเทศ ที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอผ่าน หน่วยงานประชาสงเคราะห์หรือองค์การ สังคมสงเคราะห์ที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องบุตร บุญธรรม

- เมื่อได้รับ อนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วให้ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตร บุธรรม ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนต่อนาย ทะเบียนดังกล่าว

- ผู้ที่จะรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม

- เด็กที่จะเป็น บุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียนด้วย

 

ประโยชน์ ที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

- ผู้เป็นบุตร บุญธรรม มีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิ์รับ มรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิ์รับ มรดกของบุตรบุญธรรม

- ผู้รับบุตร บุญธรรม มีอำนาจปกครองให้ความอุปการะเลี้ยงดูบุตร บุญธรรมและถือว่าบุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานของ ผู้รับบุตรบุญธรรมเสมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายนับแต่วันจดทะเบียน

- บิดามารดาโดย กำเนิด หมดอำนาจปกครองนับแต่วันจดทะเบียนแต่ไม่ ขาดจากการเป็นบิดามารดาและบุตรบุญธรรมไม่ สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมา

 

หลัก ฐานที่ต้องนำไปแสดง

- บัตรประจำตัว ประชาชน

- หนังสืออนุมัติ จากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ( กรณีบุตรบุญธรรม เป็นผู้เยาว์ )

 

ที่มา http://www.dopa.go.th/dload/mog13.htm