สสส. สมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว จัดงานเสวนา “บทเรียนครอบครัวไทยในวิกฤตน้ำท่วม : เตรียมกาย-ใจหัวเราะร่า รับมือปี 555”

 เครือข่ายครอบครัวจัดเสวนา สรุปบทเรียนจากภาวะวิกฤติน้ำท่วม   พบคุณค่าความสัมพันธ์ในครอบครัวและการมีส่วนร่วมของชุมชน ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการรับมือ รวมถึงการฟื้นฟูจากภาวะภัยพิบัติได้  พร้อมหวังให้รัฐทำงานเป็นระบบ  โปร่งใส  ไม่โกหก  
 
               เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2554   ณ  ลานกิจกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  สมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย   ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว  จัดงานเสวนา “บทเรียนครอบครัวไทยในวิกฤตน้ำท่วม   : เตรียมกาย - ใจหัวเราะร่า รับมือปี 555”     โดยนายธนากร  คมกฤส  ผู้อำนวยการงานพัฒนานวัตกรรม สมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย  ได้นำเสนอผลการสำรวจ family poll   จาก 387 ครอบครัว ในพื้นที่ 4 จังหวัด  ซึ่งล้วนเป็นพื้นที่น้ำท่วมหนัก     โดยผู้ตอบส่วนใหญ่ระบุว่า ครอบครัวของตนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งนี้  67.7%  ได้รับผลกระทบด้านที่อยู่อาศัยและทรัพย์สิน 14.0%   สูญเสียรายได้ 5.9%   ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ   ที่ร้ายแรงสุด   คือสูญเสียชีวิตสมาชิกในครอบครัว  และจำนวนหนึ่งระบุว่าสัมพันธภาพในครอบครัวสูญเสียไป       โดย 35.1%  ต้องอพยพครอบครัวไปอยู่ที่อื่น     24.3% แยกกันอยู่โดยอพยพครอบครัวไปบางส่วน     อีก 23.3% อยู่สู้ฟัดด้วยกันทั้งครอบครัว   และ 5.7 %    ที่โดนน้ำท่วมเต็มๆ จนถึงขั้นอยู่ไม่ได้ต้องไปอาศัยศูนย์พักพิง  ขณะที่อีก 7.2% ไม่โดนน้ำท่วมแต่ลุ้นจนเครียด   
              
                นายธนากร  ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า  “ทั้งๆที่ครอบครัวส่วนใหญ่เตรียมการรับมือกับน้ำล่วงหน้าทุกอย่าง    โดยการยกของขึ้นที่สูง วางกระสอบทรายและอุดทางน้ำ ย้ายปลั๊กไฟ เก็บเอกสารสำคัญ เก็บของมีค่า และนำรถไปจอดที่สูง ซึ่งล้วนเป็นการปฏิบัติตามแบบแผนที่เผยแพร่กันอยู่ทั่วไป   แต่ก็ยังเห็นว่าความรู้เพียงแค่นี้ไม่เพียงพอ        ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการนำเอาบทเรียนจากภาวะวิกฤติน้ำท่วมที่ผ่านมา   มาสร้างการเรียนรู้เพื่อให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ได้อีก   ทั้งการเตรียมความพร้อม  และการวางแผนเรื่องของการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย   ซึ่งคำตอบจากแบบสอบถามส่วนหนึ่ง มองว่าศักยภาพของครอบครัวและชุมชนมีบทบาทสำคัญในการรับมือกับภัยพิบัติ  ”
 
               ด้านนางสมร แก้วเขียว  ชาวบ้านชุมชนผาไทผาเมือง จังหวัดปทุมธานี  กล่าวว่า “เห็นข่าวน้ำเหนือมา ก็แน่ใจว่าบ้านเราไม่รอด  พยายามยกทุกอย่างให้พ้น แต่น้ำก็ท่วมบ้านจนได้  สุดท้ายก็ต้องแช่น้ำ      หน่วยงานรัฐก็ไม่เข้ามาช่วยเหลือ   เราจึงอยู่กันแบบพึ่งตนเอง ดูแลช่วยเหลือกันเองในชุมชน      ซึ่งในช่วงที่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติน้ำท่วมที่ผ่านมา   ทำให้เรารู้ว่าหากมีการเตรียมตัวที่ดีจะมีส่วนช่วยได้มาก   ทุกอย่างต้องเตรียมการไม่ใช่จะรอให้น้ำมา   และทางที่ดีที่สุดก็คือ การปรับความคิดตัวเองใหม่  ไม่มองว่ามันแย่ไปเสียทั้งหมด และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน”  

 
               ด้านนางเกณิกา   พงษ์วิรัช  เครือข่ายครอบครัวโรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา  กล่าวว่า นอกจากการเตรียมความพร้อมของทุกคนในครอบครัว ที่ต้องมีความเข้าใจ ความรัก และพลังช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ทั้งการติดตามข้อมูล เพื่อประเมิน  จัดเตรียมอาหารและสิ่งของจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของทุกคนในครอบครัวล่วงหน้า เ ช่น หากข้อมูลแจ้งน้ำอาจท่วมนาน 1 เดือน   ก็ต้องเตรียมเผื่อไว้ถึง 2 เดือน แล้ว    การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนก็เป็นพลังที่สำคัญ  เพราะจากภาวะวิกฤติน้ำท่วมหนักครั้งนี้ เพื่อนบ้านหลายครอบครัวได้รับความเสียหายหนักไร้ซึ่งที่อยู่อาศัย   แต่ด้วยความช่วยเหลือ ของผอ.โรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา  ที่ตัดสินใจเปิดศูนย์พักพิง  เสียสละทรัพย์สินส่วนตัวเพื่อให้ชาวบ้านหลายครอบครัวได้มีที่กินอยู่หลับนอน   และอยู่ช่วยเหลือดูแลกันเหมือนญาติพี่น้อง จึงเกิดพลังที่ทำให้สามารถผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกันได้
 
               ขณะที่นางสาวประวีณมัย   บ่ายคล้อย พิธีกรและผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ กล่าวว่า  “ การเตรียมตัวของแต่ละบ้านสิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับ  โดยเฉพาะข้อมูลจากหน่วยงานรัฐที่เป็นคนดูแลจัดการปัญหา   แต่หลายบ้านบอกตรงกันว่า ได้ข้อมูลไม่ชัดเจน  ทำให้เกิดการตัดสินใจผิดพลาด  เลยเกิดความโกลาหล   เหมือนกับว่าเราไม่ได้วางแผนเอาไว้ก่อน  ทั้งที่จริงทุกบ้านมีการเตรียมตัวประมาณหนึ่งแล้ว    ดังนั้นสิ่งสำคัญจึงควรติดตามข้อมูลให้หลากหลายช่องทาง   ทั้งในสื่อแขนงต่างๆ   รวมถึงข้อมูลจากSocial network  ซึ่งจากภาวะวิกฤติที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีความแข็งแรงมาก  และเป็นพลังมหาศาล  โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาข้อมูลจากรัฐ      ครอบครัวของสื่อมวลชนบางคนนั้น  ก็ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมไม่แตกต่างจากครอบครัวอื่นๆ  แต่ด้วยการมองเห็นถึงความสำคัญของคำว่า ครอบครัว  ของสถานี  ที่คอยให้ความช่วยเหลือ เปิดศูนย์พักพิง ดูแลครอบครัวของคนทำงาน   ทำให้มีแรงและกำลังในการทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้อื่นต่อ   จึงอยากให้ทุกองค์กร มองเห็นความสำคัญของทุกครอบครัว 
   
               ทั้งนี้ แพทย์หญิงพรรณพิมล  วิปุลากร  เลขาธิการสมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประทศไทย กล่าวว่า “สิ่งที่อยากฝากทุกครอบครัวคือ   เราไม่จำเป็นต้องรอความช่วยเหลือจากใคร  เราสามารถสร้างบทเรียนของตัวเองได้ในเรื่องการรับมือกับภัยพิบัติในบริบทของพื้นที่ของตน   ครอบครัวต้องมีการเตรียมพร้อมรอบด้าน  ต้องมีแผน1 แผน2  แผน3    ที่พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่รุนแรง   แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ ความพอดีในการดูแลตัวเองและการอยู่ร่วมกัน  เพราะ ในขณะที่เราปิดกั้นทุกทางเพื่อไม่ให้น้ำเข้าบ้าน  แต่กลับไปเบียดเบียนครอบครัวอื่นให้ต้องแบกรับและเผชิญกับน้ำท่วม  สุดท้ายแล้ว  เราก็คงไม่รอด   ควรตัดสินใจบนฐานคิดที่หากครอบครัวอื่นๆรอด  เราก็รอดด้วย    “จะเห็นว่าความร่วมไม้ร่วมมือเป็นบทเรียนสำคัญ   ทั้งความร่วมมือของสมาชิกในชุมชน  หรือความร่วมมือของสมาชิกที่ทำงานในองค์กรเดียวกัน   ในครั้งนี้เราได้พบว่าทรัพยากรดีๆหลายอย่างมีอยู่แล้วในชุมชนหรือองค์กรของเรา  ซึ่งหากมีบรรยากาศของการคิดตัดสินใจบนฐานความรู้สึกว่า เราคือพวกเดียวกัน ครอบครัวเดียวกัน  เราจะคิดและตัดสินใจในมิติที่ใหญ่กว่า  และเชื่อได้ว่าเราจะรอดไปด้วยกันได้”    และสุดท้ายคือแผนฟื้นฟู  จะเห็นว่าตอนนี้ครอบครัวได้รับผลกระทบมากลูกต้องเรียนเยอะขึ้น  พ่อแม่ก็ต้องทำงานมากขึ้น  คงต้องมีการจัดการที่ดีภายในครอบครัว   ซึ่งตรงนี้หากมีชุมชนจะช่วยได้มาก เพราะหลายครอบครัวอาจฟื้นฟูด้วยตัวเองได้ยาก”
 
                 “และอยากฝากรัฐบาลให้เห็นความสำคัญของการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน   จริงๆตอนนี้เป็นโอกาสที่จะชวนกันทำแผนที่ชุมชน เพื่อเป็นฐานข้อมูลการตัดสินใจในครั้งต่อไป  ซึ่งจะช่วยลดวามขัดแย้งระหว่างกันตามมา  ไม่ใช่ต่างคนต่างป้องกันตนเองแต่ผลักภาระไปสู่คนอื่น    การจัดการเป็นเรื่องสำคัญ หากมีการมีส่วนร่วมจะทำให้การจัดการโดยภาพรวมดีขึ้นทุกระดับ    ที่ถูกแผนหลักของการรับมือภัยพิบัติต้องเป็นแผนระดับท้องถิ่น   ไม่ใช่แผนระดับชาติ   ซึ่งควรเป็นแผนเชิงโครงข่าย และรัฐคอยสนับสนุนความต้องการให้พื้นที่   ซึ่งบทเรียนจากหลายพื้นที่พบว่าที่ประสบปัญหาหนัก เป็นเพราะระบบการจัดการของแผนระดับชาติ” 

ความคิดเห็น

 UCVHOST is the leading VPS

 UCVHOST is the leading VPS Hosting seller on the internet and has plans

( Windows VPS, Cheap VPS, Forex VPS, Email VPS, Plesk VPS, MS SQL VPS,Shared Hosting, Linux VPS and Windows Hyper V ) catering to everyone’s needs. UCVHOST is also platinum partner ( Parallels Partner ) with Parallels and has recently been awarded the Emerging Region Partner Of The Year Award. Just visit UCVHOST and see the difference. Chat with our support executives and check the expertise of each one of them. UCVHOST is the best and you can see this for yourself by signing up with us with our 30 day money back guarantee.
For more information visit Windows VPS | VPS Hosting | Shared Hosting | Forex VPS | Cheap VPS | MT4 VPS | Cheap Hosting |Windows Hosting | Virtual Server |VPS Hosting | Cheap VPS For Hosting plans in India visit: Windows VPS |Cheap VPS | Forex VPS | Best VPS | VPS Hosting | Smartermail VPS | MS SQL VPS | Plesk VPS