กิจกรรมของกลุ่มเยาวชนรักสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด
ความเป็นมา
รายงานสถานการณ์ครอบครัวไทยจากงานประชุมวิชาการครอบครัวศึกษา ครั้งที่ 1/2552 หัวข้อ “การจัดการครอบครัวด้วยความรู้ ” พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากร 18 ล้านครอบครัว ในจำนวนนี้ 2.5 ล้านครอบครัว ที่สมาชิกในครอบครัวตกอยู่ในสภาวะด้อยสัมพันธภาพ และมีโอกาสที่จะไม่เข้าใจการดำเนินชีวิต และยังพบข้อมูลวิชาการจำนวนมากที่บ่งชี้ว่า ครอบครัวไทยกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติของสังคม
ทุกภาคส่วนที่เห็นความสำคัญ จึงร่วมมือกันส่งเสริมสุขภาวะครอบครัว โดยมีเครือข่ายคนทำงานและนักวิชาการด้านครอบครัวช่วยกันพัฒนางานวิชาการด้านครอบครัวศึกษาขึ้น และจัดตั้ง “สมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการระดมความรู้เกี่ยวกับการทำงานเรื่องครอบครัวระหว่างหน่วยงานต่างๆ ผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน การแลกเปลี่ยนงานศึกษาวิจัย อีกทั้งยังกระตุ้นความตื่นตัวของคนทำงานและสังคม ให้ตระหนักถึงการทำงานพัฒนาส่งเสริมครอบครัวบนฐานความรู้ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนและส่งเสริมให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัว ตลอดจนเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมครอบครัวให้เกิดสุขภาวะในโอกาสต่อไป
วัตถุประสงค์ของสมาคม
1. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมมือกันศึกษา วิจัย และสร้างองค์ความรู้ระหว่างคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่ปฏิบัติงานด้านครอบครัว
2. เพื่อศึกษาและพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านครอบครัวของรัฐ รวมทั้งติดตามและประเมินผลการนำนโยบายด้านครอบครัวของรัฐไปสู่การปฏิบัติ
3. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมตระหนักถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมส่งเสริมครอบครัวให้เกิดสุขภาวะ
คณะกรรมการผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมฯ
นายสุจิตต์ ไตรพิทักษ์ นายกสมาคม
ผู้ตรวจราชการกระทรวง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รศ.ดร.จิตตินันท์ เดชะคุปต์ อุปนายก
อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัวไทย สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ดร.ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล อุปนายก
อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รศ.พญ.จรวยพร สุภาพ อุปนายก
หัวหน้าภาควิชาอนามัยและครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รศ.ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร กรรมการ
ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
นายสรรพสิทธิ์ คุมประพันธ์ กรรมการ
ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
รศ.อภิญญา เวชยชัย กรรมการ
อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นางสุภาวดี หาญเมธี กรรมการ
ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทรักลูกกรุ๊ป
รศ.ดร.วรรณภา โพธิ์น้อย กรรมการ
อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัวไทย สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นายวันชัย บุญประชา ประชาสัมพันธ์
ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
นางสาวพัชรา อุบลสวัสดิ์ นายทะเบียน
นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดร.ปิยะธิดา ขจรชัยกุล ปฏิคม
รองหัวหน้าภาควิชาอนามัยและครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อ.ศิวพร ปกป้อง เหรัญญิก
รองผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล เลขาธิการ
ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
Welcome to Family Network Blogs. This is your first post. Edit or delete it, then start blogging!
“
สร้างใจอาสา + สร้างปัญญา สร้างพลังการเปลี่ยนแปลง สู่ชุมชนสุขภาวะ
พบกับค่ายรวมใจแด่พ่อหลวง
เพื่อคุณ เพื่อครอบครัว ได้เร็ว ๆ นี้ครับ
ชมเวบไซด์ได้ที่
www.ruamjaionline.com
เขลางค์สิกขาลัย
ประเดิม เช้าวันที่ 14 มีนาคม 2553
สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่ผ่านมา T ไปโรงเรียนเป็นอาทิตย์แรก แต่ละวันมีการเจรจาต่อรองทุกเช้า
-โรงเรียนไม่มี ลิฟท์บ้าง
-โรงเรียน ไม่มีรถไฟฟ้า บ้าง
วันนี้ เลยจะพา ไปขึ้นรถไฟฟ้า ซะให้หายอยาก และไปดู พิพิทธภัณฑ์เด็กด้วย … ไม่รู้ว่าเสื้อแดงจะมีปัญหาไหมเนี่ย
<object width=”480″ height=”385″><param name=”movie” value=”http://www.youtube.com/v/puV6XmH6LBs&hl=en_US&fs=1&”></param><param name=”allowFullScreen” value=”true”></param><param name=”allowscriptaccess” value=”always”></param><embed src=”http://www.youtube.com/v/puV6XmH6LBs&hl=en_US&fs=1&” type=”application/x-shockwave-flash” allowscriptaccess=”always” allowfullscreen=”true” width=”480″ height=”385″></embed></object>
เวที่เรียนรู้สายใยรักครอบครัวระดับอนุบาลที่ ร.ร.ผดุงวิทย์ จังหวัดลำปาง
เมื่อวันเสาร์ ที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา
ทำให้ผมได้รับความรู้สึกแปลกๆ ใหม่ๆกลับมามากมาย โดยเฉพาะความรู้สึกที่เรียกว่า
“หัวหด”
หัวหดคืออาการกลัวของกระบวนกรอย่างหนึ่งเมื่อเข้าไปในเวทีที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน
กลุ่มคนที่ไม่เคยได้ทำมาก่อน เช่นเด็กอนุบาล 2และครอบครัวของเขานี่แหละ
สิ่งหนึ่งที่ผมถามตัวเองคือ
“เฮ่ย นายป้อม ตอนคุณครูปิ๋วเรียกนายเข้าไปช่วยในช่วงแรกนั้น นายบอกตัวเองว่ายังไงเอ่ย อิอิ”
ผมได้ยินชัดที่เดียวว่า “ไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมเลย ไม่บังควรอย่างยิ่งเลย
แม้จะเข้าไปทำอะไรแม้แต่วินาทีเดียวก็ตาม ยิ่งไปในช่วงเวลาที่สติอ่อนๆเช่นนี้ด้วย
ถ้าคนที่ถือไมค์อยู่ เป็นคนที่ผู้ร่วมเรียนรู้คือเด็กอนุบาลและครอบครัว โดยเฉพาะเด็กๆเขาไว้วางใจ
ให้ความเชื่อมั่นศรัทธาอยู่แล้ว ยังจะมีอะไรดีกว่านี้อีก ครูปิ๋วเป็นครูอนุบาลใน ร.ร. ผดุงวิทย์ นำเล่นเกมส์
ร้องเเพลงที่มีความบันเทิงแทรกสาระตลอด มันดีอยู่แล้ว มันเวิร์คอยู่แล้ว
โดยเฉพาะที่เรียกว่า Trust ไง No Trust No Action ขืนนายเข้าไปแม้แต่วินาทีเดียว
จะกลายเป็นศพได้ง่ายๆเลย เพราะไม่มีใคร จะAction กับนายไง 555555″
ที่สุดก็คือ ผมได้เรียนรู้ความไร้เดียงสา(อัตตาน้อย) ความซื่อใสของเด็กๆ
ซื่อๆ ซื่อตรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิบัติธรรม ดูกายดูใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางด้วย
รวมถึงความกล้าที่บริสุทธ์ไร้พิษภัยของเด็กๆ ที่ข้ามพ้นการตัดสินตีความ กรอบความผิดหรือถูก
ในตอนเล่านิทานและตอบคำถามด้วย
ขอบคุณเด็กๆทุกคน ที่ให้พลังที่บริสุทธ์และไร้เดียงสา
เล่าสู่กันฟังโดย ป้อมหลานปู่
เปิดโลกจินตนาการนิทนาครอบครัว
Welcome to Family Network Blogs. This is your first post. Edit or delete it, then start blogging!
Welcome to Family Network Blogs. This is your first post. Edit or delete it, then start blogging!