เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ติดเกม
วินัย นารีผล
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
"ลูกใครชอบเล่นเกมบ้าง" เมื่อถามคำถามนี้ คุณพ่อคุณแม่จำนวนมากทีเดียว คงตอบว่าว่า “ใช่” ซึ่งก็เป็นพฤติกรรมปกติของเด็กยุคนี้ ที่ชอบเล่นเกมในเวลาว่าง เพื่อความสนุกสนาน คลายความเหงา และยังมีเรื่องคุยกับเพื่อนๆ ที่โรงเรียนได้
เกมคอมพิวเตอร์ได้เข้ามาสู่เด็กๆ โดยเริ่มต้นจากการที่ทุกบ้านต้องมีคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการศึกษา การสื่อสาร และความบันเทิง ทว่าขณะที่เด็กๆ ใช้คอมพิวเตอร์นี้ ครอบครัวกลับมีเวลาน้อยลงที่จะบอกสอนและควบคุมลูกในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสม เนื่องจาก แต่ละครอบครัวก็ล้วนแล้วแต่ต้องดิ้นรนหาเงินทองให้มีชีวิตที่สุขสบาย และทัดเทียมคนอื่น คุณพ่อคุณแม่จึงใช้เวลาส่วนใหญ่กับการทางานนอกบ้าน แต่ละวันเด็กจึงมีเวลาหลายชั่วโมงที่ต้องอยู่บ้านตามลาพัง โดยไม่มีผู้ใหญ่ควบคุมดูแล หรือ หากมีผู้ใหญ่ดูแล ผู้ใหญ่ก็มักปล่อยให้เด็กอยู่กับความบันเทิงหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพราะคิดว่าจะทาให้ลูกเป็นเด็กที่เก่ง อยู่ติดบ้าน และช่วยให้พ่อแม่มีเวลาพักผ่อน ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการดูแลลูก
เด็กบางคนเล่นเกมได้โดยไม่มีปัญหา คือ สามารถแบ่งเวลา และควบคุมตัวเองให้เล่นเกมตามเวลาที่กำหนด ยังรับผิดชอบการเรียนและการงานได้ ผลการเรียนไม่ตก และยังคงทากิจกรรมอื่นๆได้ตามปกติ การเล่มเกมจะเริ่มเป็นปัญหาเมื่อเด็กเริ่มคลั่งไคล้เกม คือ เด็กเริ่มจดจ่อกับการเล่นเกมมากขึ้น จำนวนชั่วโมงในการเล่นเกมมากขึ้น ควบคุมเวลาเล่นเกมไม่ได้ สนใจบุคคลรอบข้างน้อยลง และ ผลการเรียนเริ่มตกลงบ้าง การคลั่งไคล้เกมนี้ หากไม่ได้รับการแก้ไข จะนำไปสู่ภาวะการติดเกม ซึ่งเด็กจะควบคุมตนเองในการเล่นเกมไม่ได้เลย เด็กจะไม่สนใจสิ่งอื่นใด นอกจากการเล่นเกม เริ่มละเลยไม่ทำกิจวัตรส่วนตัว ไม่รับผิดชอบการเรียน งานบ้าน ปฏิเสธที่จะทากิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัว อารมณ์ฉุนเฉียวเมื่อพ่อแม่ตักเตือนให้เลิกเล่นเกม และหงุดหงิดเมื่อไม่ได้เล่นเกม เด็กบางคนโดดเรียน หนีออกจากบ้านไปขลุกอยู่ในร้านเกม คบแต่เพื่อนที่เล่นเกม บางคนอาจขโมยเงินพ่อแม่ไปเล่นเกม
การติดเกม มีส่วนหนึ่งที่คล้ายคลึงกับการติดยาเสพติด คือ ผู้ติดเกมเองจะไม่เดือดร้อน แต่คนที่เดือดร้อนคือครอบครัวที่ห่วงว่าลูกหลานจะเสียอนาคตและเป็นทุกข์ใจมากที่ลูกหลานก้าวร้าวกับตนเอง ครอบครัวจะเริ่มดิ้นรนให้ลูกหลานเข้ารับการบาบัด แต่การบาบัด ก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก เพราะเด็กก็ไม่ค่อยร่วมมือ ครอบครัวจึงต้องใช้พลังกาย พลังใจ และพลังสติปัญญาสูงมากจึงจะดึงลูกหลานให้ห่างจากสิ่งที่ติดได้ ซึ่งโอกาสประสบความสาเร็จก็พยากรณ์ได้ไม่ดีนัก และในบางกรณีการแก้ไขก็อาจสายเกินไป การป้องกันปัญหาจึงเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าการแก้ไขมาก
พ่อแม่ต้องมีความเข้าใจเบื้องต้นว่า เราไม่อาจห้ามเด็กไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเกมได้
ที่จริงแล้ว คอมพิวเตอร์ก็มีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิต การศึกษา และการงานของคนในยุคปัจจุบัน และเกมบางเกมก็มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็ก เพียงแต่เราต้องสอนให้เด็กรู้จักควบคุมตนเองในการเล่นเกม คือ รู้จักเลือกเกมที่เหมาะสม แบ่งเวลาเล่น โดยยังคงมีความรับผิดชอบการเรียน การงานได้
การฝึกให้เด็กควบคุมตนเองได้ ต้องฝึกตั้งแต่เด็กยังเล็ก ด้วยวิธีการต่อไปนี้
๑. กำหนดกติกา ก่อนที่จะให้ลูกเริ่มเรียนรู้คอมพิวเตอร์และการเล่นเกม พ่อแม่ควรกำหนดกติกาและขอบเขตการเล่นเกมที่ชัดเจนกับลูก เช่น ลูกสามารถเล่นเกมในวันธรรมดาได้ไม่เกินวันละ ๑ ชั่วโมง หรือเล่นเฉพาะวันหยุดเสาร์อาทิตย์เท่านั้น ในเวลาไม่เกินวันละ ๒ ชั่วโมง ให้เล่นสลับกันระหว่างพี่น้องคนละวัน ให้ทำการบ้านหรือการงานอื่นๆ ให้เสร็จก่อนจึงจะเล่นเกมได้ เป็นต้น
การกำหนดขอบเขตการเล่นเกมนี้ ควรเริ่มทาตั้งแต่ลูกยังเล็ก ควบคู่กับการฝึกวินัยในเรื่องอื่นๆ เช่น การเข้านอนและตื่นเป็นเวลา การรู้จักจัดเก็บข้าวของให้เป็นระเบียบ การกลับบ้านตรงเวลา เป็นต้น ในเด็กเล็ก พ่อแม่อาจเป็นผู้กาหนดกติกาว่าอะไรที่ลูกควรทา และไม่ควรทา แต่สาหรับเด็กโตและเด็กวัยรุ่น การกำหนดกติกาโดยพ่อแม่ฝ่ายเดียวอาจไม่ได้ผล จึงควรให้เด็กร่วมกำหนดกติกากับพ่อแม่ ที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่าย โดยพ่อแม่จูงใจให้ลูกเห็นผลดีจากการกาหนดกติกา ร่วมกันกำหนดข้อตกลง และการลงโทษที่ชัดเจนว่าเมื่อลูกไม่ทาตามข้อตกลง ลูกจะถูกลงโทษอย่างไร เช่น พ่อแม่จะเตือนก่อน ครั้งที่ ๑ และ ๒ ในครั้งที่ ๓ ลูกจะถูกลงโทษ เช่น ถูกตัดค่าขนม ให้ทำงานเพิ่มขึ้น ในเด็กเล็กอาจกำหนดโทษด้วยการตี แต่ควรตีพอให้ลูกได้จดจำความผิดเท่านั้น ไม่ควรทำบ่อยนัก และไม่ตีโดยใช้อารมณ์
สิ่งสาคัญคือ เมื่อกำหนดกฏกติกาใดๆ พ่อแม่ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างให้ลูกและเอาจริงในการควบคุมให้ลูกปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นด้วย กฏกติกานั้นจึงจะได้รับการยอมรับจากลูก
๒. ฝึกวินัยและความรับผิดชอบ พ่อแม่ควรมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้ลูกช่วยงานในบ้าน เช่น รดน้าต้นไม้ ล้างจาน กรอกน้าใส่ขวด เป็นต้น ควรให้ลูกมีส่วนเลือกงานที่เขาอยากทา และพ่อแม่ต้อง
กำกับดูแลให้ลูกทาให้สาเร็จ ลูกจะได้เรียนรู้ที่จะมีความรับผิดชอบ รู้จักควบคุมตัวเองให้ทาในสิ่งที่ควรทา และเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบต่อตัวเอง และครอบครัว
๓. เสริมสร้างความภาคภูมิใจ เด็กที่มีความภาคภูมิใจในตัวเอง จะมีแรงจูงใจที่จะทาดีและทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ การเสริมสร้างความภาคภูมิใจที่พ่อแม่สามารถทาได้อย่างง่ายๆ และเห็นผลชัดเจน คือ การจับถูก โดยพ่อแม่ควรหมั่นมองด้านดีหรือด้านบวกแม้เล็กน้อยในตัวลูก แล้วพูดชื่นชมให้เจ้าตัวรับรู้ เช่นเดียวกับการบอกให้ผู้อื่นรับรู้ด้วย และควรชื่นชมในสิ่งที่ลูกทำจริง ไม่เยินยอเกินจริง เช่น “ลูกน่ารักมากที่กลับบ้านตรงเวลา” “ ลูกเก่งมากที่ควบคุมอารมณ์ได้” “แม่ภูมิใจที่ใครๆ ก็ชมว่าลูกพูดจาเพราะ” คำชมจากพ่อแม่ช่วยให้ลูกมีกาลังใจและร่วมมือในการแก้ไขปัญหามากขึ้น
๔.สนับสนุนงานอดิเรกที่สร้างสรรค์ เด็กที่ติดเกมจำนวนมากเริ่มเล่นเกมเพราะเด็กรู้สึกเหงาและไม่มีอะไรทำในเวลาว่าง การมีกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สร้างความสุขแบบไม่มีพิษภัย จะช่วยให้เด็กเพลิดเพลินและไม่เหงา การห้ามเด็กที่ติดเกมแล้วให้เล่นเกมลดลงนั้น จะประสบความสาเร็จได้ยาก หากเด็กไม่มีกิจกรรมสร้างสรรค์รองรับ เด็กก็จะไม่มีทางออกอื่น และตัดใจจากการเล่นเกมได้ยาก
พ่อแม่ส่งเสริมให้ลูกทากิจกรรมสร้างสรรค์ได้ โดยช่วยลูกให้ค้นหาความถนัด ความสนใจของตนเอง และสนับสนุนให้ลูกได้มีโอกาสทำกิจกรรมนั้น เมื่อเด็กได้พบความสุขจากกิจกรรมสร้างสรรค์ เขาก็ใช้เวลาว่างอย่างมีคุณค่ามากขึ้น และค่อยๆ ลดเวลาในการเล่นเกม จนกระทั่งสามารถควบคุมตัวเองในการเล่นเกมได้ดีขึ้น
๕. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ครอบครัวที่มีการเอาใจใส่กันและกัน พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดี มีเวลาเอาใจใส่ พูดคุย และทากิจกรรมที่สร้างความสุขร่วมกับลูก จะช่วยให้พ่อแม่และลูกมีความผูกพันกัน พ่อแม่สามารถบอกสอน และชี้แนะสิ่งต่างๆ กับลูก โดยลูกก็จะเต็มใจรับฟัง และยอมทำตามพ่อแม่ ซึ่งย่อมเป็นภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้ลูกต่อปัญหาทุกเรื่อง
การให้ความใส่ใจ ให้เวลา และฝึกหัดลูกอย่างถูกวิธีนี้ อาจเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องเหน็ดเหนื่อยในระยะแรกๆ และต้องใช้ความอดทนในการดูแลอย่างสม่าเสมอและต่อเนื่อง เสมือนกับการที่เราปลูกต้นไม้ เราต้องเรียนรู้ธรรมชาติของต้นไม้ และรู้จักดินฟ้าอากาศแวดล้อม ให้การดูแลรดน้า พรวนน้า ให้ปุ๋ย กาจัดแมลง อย่างพอเหมาะ ซึ่งต้องอาศัยความใส่ใจ ดูแลวันแล้ววันเล่า แต่ผลสาเร็จนั้นก็จะนาความชื่นใจให้ เมื่อต้นไม้นั้นเติบใหญ่เป็นต้นไม้ที่มั่นคง สวยงาม
ดีกว่าปล่อยให้ลูกเติบโตตามยถากรรม และพ่อแม่ต้องมาเสียใจภายหลัง ว่า “ถ้าเราให้ความสาคัญในการฝึกหัดลูกตั้งแต่เล็ก เราคงไม่ต้องมาปวดหัว และเสียใจเพราะลูก แบบนี้”