Accessibility help

เมนูหลัก

ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อองค์กร ??
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ประเภทองค์กร?
หน่วยงานราชการ

ปรัชญา แนวคิด
ความปลอดภัยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ (Safety right is a fundamental human right) เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลเพื่อให้เติบโต เล่น พัฒนาการที่ดีใจสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยอย่างเสมอภาคกัน เป็นหน้าที่ของรัฐ ผู้ปกครอง แลทุกส่วนของสังคมจะต้องร่วมรับผิดชอบในสิทธิและความเสมอภาคนั้น

วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างองค์ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันการบาดเจ็บและการสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก และสร้างกระบวนการขับเคลื่อนสังคมเพื่อนำความรู้ที่ได้นี้ไปใช้ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม โดยส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมบุคคล พฤติกรรมสังคม สิ่งแวดล้อมเชิงกายภาพ และสิ่งแวดล้อมเชิงสังคมที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก

วันเดือนปีที่ก่อตั้ง?
10 ตุลาคม 2544

ความเป็นมา
การเปลี่ยนแปลงระดับเศรษฐกิจจากประเทศรายได้ต่ำสู่ประเทศรายได้กลางและสูง จะมีการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางสังคมนำปสู่สังคมอุตสาหกรรม (industrialization) สังคมพึ่งพิงพลังงาน (energy-dependent society) สังคมวัตถุนิยม (materialism) มีการสร้างผลิตภัณฑ์หลากหลายจากการผลิต มีการหล่อหลอมพฤติกรรมและความนิยมจากสื่อโฆษณา การเดินทาง (motorization) ชุมชนเมือง (urbanization) ครอบครัวเดี่ยว การเปลี่ยนแปลงนี้นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ (injury risk)
?
ขณะเดียวกัน ประเทศที่เปลี่ยนจากรายได้ต่ำสู่ประเทศรายได้กลางและสูงนี้จะมีการลดลงของการตายจากโรคติดเชื้อ โรคขาดอาหาร อย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราการตายในกลุ่มเด็กทารก เด็กเล็กลดลง สัดส่วนการตายของกลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นจะสูงมากขึ้น ทำให้สัดส่วนการตายจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บสูงขั้นอย่างชัดเจน พบว่าในประเทศที่มีรายได้ประชาชาติตั้งแต่ 1000US หรืออัตราการตายทารกแรกเกิดน้อยกว่า 40 ต่อ 1000 เหตุนำการตายของเด็กจะเกิดจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ ในเวลาเดียวกันคนที่ผ่านวัยกลางคนมาแล้วในประเทศเหล่านี้จะมีโอกาสที่จะมีชีวิตยืนยาวขึ้นทำให้คนสูงอายุจะขยายจำนวนมากขึ้นเช่นกัน
?
ในการปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพดังกล่าวนี้ (health transition) กลุ่มประเทศรายได้สูง (high income countries) ใช้เวลา 150-200 ปีในการเปลี่ยนแปลง ประเทศเหล่านี้เป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีเอง มีการนำเทคโนโลยีมาใช้กับสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ความระมัดระวังในผลเสียของเทคโนโลยี มีการกระจายโอกาสการใช้เทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม มีการควบคุมประชากร มีสวัสดิการสังคมและมีความมั่นคงทางการเมือง
?
ในขณะที่ประเทศรายได้ระดับกลางมีความแตกต่างกับประเทศรายได้สูงเนื่องจากใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเวลา 30-40 ปี อันเป็นผลมาจากการรับหรือการซื้อเอาเทคโนโลยีด้านต่างๆ เข้าสู่สังคมอย่างรวดเร็ว ให้ความสำคัญในการลงทุนเป็นประโยชน์ที่ได้อย่างไม่เป็นสัดส่วนกับการลงทุนเพื่อระวังผลเสียจากเทคโนโลยี มีความไม่เสมอภาคในสังคมสูง (social inequity) กลุ่มเข้าถึงเทคโนโลยีจะเอาเปรียบกลุ่มด้อยโอกาสทั้งประโยชน์และความปลอดภัย ไม่ได้ควบคุมประชากรตั้งแต่แรกก่อให้เกิดการขยายจำนวนประชากร (population overgrowth) จนยากแก่การจัดการสวัสดิการทางสังคม และมีความไม่มั่นคงทางการเมือง
?
เหตุผลเหล่านี้ทำให้ในภาพรวมเด็กในประเทศรายได้ระดับกลางต้องผจญอยู่กับการทำลายล้างสุขภาวะแบบทวีคูณ (double burden) คือปัญหาสุขภาพเก่าที่แก้ไม่ตก (unsolved problem) ได้แก่กลุ่มโรคติดเชื้อร่วมกับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นใหม่ (emerging problem) คือปัญหาการบาดเจ็บ การเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพแบบนี้เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์แบบยืดขยาย (protracted health transition)
?
ในขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาเชิงลึกที่กลุ่มต่างๆ ของสังคมในประเทศใดประเทศหนึ่งนั้น จะพบว่าในความเป็นจริงแล้วภาวะการทำล้ายล้างสุขภาวะแบบทวีคูณ (double burden) เกิดขึ้นจากปัญหาที่แตกต่างกันของกลุ่มคนแต่ละชนชั้น ในกลุ่มยากจนด้อยโอกาสในประเทศรดับกลางจะเป็นกลุ่มที่ถูกทำลายล้างสุขภาวะแบบทวีคูณอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพแบบนี้เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์แบบแบ่งขั้ว (health polarization)
?
ประเทศไทยหนึ่งในกลุ่มประเทศรายได้ระดับกลาง การบาดเจ็บกำลังเป็นสาเหตุนำการตายในเด็กจากการศึกษาการตายของเด็กไทยพบว่าในปี 2545 มีการเสียชีวิตในเด็กอายุ 1-14 ปีจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจำนนว 3,516 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 23.4/100,000 การจมน้ำเป็นสาเหตุนำ พบว่ามีเด็กตายจากการจมน้ำจำนวน 1,669 ราย (ร้อยละ 47.5 ของการตายจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บทั้งหมด หรือคิดเป็นอัตราการตาย 11.7 คน/เด็กอายุ 1-14 ปี 100,000 คน) สาเหตุนำอันดับที่สองคือกาตายจากการจราจน (transport injury) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กโต พบว่ามีเด็กตายจาการขนส่ง 838 ราย (ร้อยละ 23.5 ของการตายจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บทั้งหมด) สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้ตามมาคือ การขาดอากาศหายใจจากสาเหตุต่างๆ กระแสฟ้า ตกจากที่สูง สารพิษ ไฟ น้ำร้อนลวก สิ่งของหล่นทับหรือกระแทก สัตว์กัด ถูกทำร้าย และอื่นๆ
?
ดังนั้น ปัญหาอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจึงเป็นปัญหาที่สำคัญที่เป็นสาเหตุนำการตายในเด็กไทยปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มจะก่อปัญหามากขึ้นอีกในอนาคต ประสบการณ์จากประเทศพัฒนาบ่งบอกว่าการวิจัยเพื่อให้รู้ถึงปัจจัยเสี่ยงและวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และมีพันธะจะนำสู่การปฏิบัติ (research to practice) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม และนโยบายสาธารณะ การดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ให้ได้นั้นจำเป็นต้องมีการให้ความรู้แก่ประชาชนในวงกว้าง สร้างกระแสสังคม เคลื่อนไหวผู้กำหนดนโยบายในเวลาเดียวกัน

ประเด็นสำคัญในการทำงาน
1.?โครงการ ?เด็กไทยปลอดภัย? (Safe Kids Thailand) คือโครงการที่สร้างกิจกรรมที่มุ่งเป้าหมายเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โดยคำนึงถึงสิทธิเด็กที่จะต้องมีการเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่ดี และมีโอกาสได้เล่น ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย
2.?โครงการ ?เด็กไทยปลอดภัย? (Safe Kids Thailand) คือโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและประเมินผล (intervention and evaluation) หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นกึ่งวิจัยเชิงปฏิบัติการและพัฒนา (research and development)
3.?ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน (intervention strategies) มี 4 ประการ คือ
3.1.?เป็นการดำเนินงานเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้กับสังคมไทย (human resource development) ทรัพยากรมนุษย์ เป้าหมายคือเด็ก ดังนั้นกาดำเนินงานต้องมุ่งเป้าเพื่อลดการตายของเด็ก ความพิการ พฤติกรรมเสี่ยง มุ่งเป้าเพื่อสร้างผู้ใหญ่ในอนาคตที่สมบูรณ์ไม่พิการ มีจิตสำนึกความปลอดภัย ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง ลดปัญหาพฤติกรรมในวัยรุ่นและวัยกลางคนในอนาคต และเป็นตัวอย่างที่ดี (role model) แก่เด็กและเยาวชนในรุ่นต่อไป (next generation)
3.2.?เป็นการดำเนินงานเพื่อสร้างความเสมอภาคในสังคม (social equity) เนื่องจากสิทธิความปลอดภัย (safety right) เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน (fundamental human right) ดังนั้นสังคมจะต้องใช้ทรัพยากรสาธารณะ (public resource) เพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้รับความปลอดภัยอย่างเท่าเทียมกัน ความพยายามให้เด็กได้รับความเสมอภาคในด้านความปลอดภัยนี้ (safety equity) จะนำไปสู่ความเสมอภาคของเด็กแต่ละชนชั้น (social class) ในการอยู่อาศัย การเล่น การเดินทาง การใช้ผลิตภัณฑ์ การได้รับการปกป้อง การได้รับการคุ้มครอง และการได้รับการแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยง
3.3.?เป็นการดำเนินงานเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตในประเทศทั้งด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ และการศึกษา (increase productivity) ในความจริงอุปสงค์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณพ์ การบริการ และการศึกษาจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในกลุ่มประเทศรายได้ระดับกลางและรายได้ต่ำที่มีการเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากประเทศเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงปัญหาทางสุขภาพเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย ประเทศเหล่านี้แม้จะมีอัตราการตายทารกลดลงมาต่ำกว่า 40 ต่อ 1000 แล้ว ส่วนใหญ่นโยบายยังคงวนเวียนอยู่กับการแก้ไขปัญหาสุขภาพแบบเดิม ดังนั้นเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะสนับสนุนอุตสาหกรรมความปลอดภัยทั้งผลิตภัณฑ์ บริการ และการศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ในประเทศและเพื่อการขายสู่ประเทศเหล่านั้น ตัวอย่างเช่นผลิตภัณฑ์เสริมความปลอดภัยในยานพาหนะต่างๆ โปรแกรมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในโรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม หลักสูตรผึกอบรมต่างๆ เป็นต้น
??
ขณะเดียวกันโคงรงการนี้ต้องดำเนินงานเพื่อต่อต้านการทำลายอำนาจการผลิตจากการลงทุนข้ามชาติด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องรู้ทันและสร้างเกราะป้องกันการนำเข้าอุตสาหกรรมความปลอดภัยจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ บริการ และการศึกษา ที่ในการนำเข้ามาไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประเทศไทยอย่างแท้จริง แต่นำมาเพื่อขยายฐานตลาดในประเทศไทย รวมทั้งการใช้งบประเทศไทยเป็นฐานการขยายสู่ตลาดในภูมิภาค และมีแผนนำไปสู่ลิขสิทธิ์เพื่อการจำกัดสิทธิ์การผลิตด้วย
3.4.?เป็นการดำเนินงานเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน (sustainable society) คือสังคมที่มีมาตรการความปลอดภัย มีระบบสวัสดิการสังคมที่ดีในการคุ้มครองเด็ก ควบคุมสิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดมลพิษในระยะยาว และมีการเฝ้าระวังและควบคุมความรุนแรง

ความเชี่ยวชาญ
การสร้างและสื่อองค์ความรู้ สร้างเครือข่าย สร้างความมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของชุมชนและเด็ก และผลักดันนโยบาย ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย การป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและความรุนแรงในเด็ก

กลุ่มเป้าหมายที่ทำงานด้วย
?เครือข่ายภาครัฐและเอกชน ชุมชนระดับหมู่บ้าน หรืออื่นๆ เช่น ระดับจังหวัด โรงเรียน เยาวชน

งานที่ดำเนินการ
?โครงการ ?เด็กไทยปลอดภัย? (Safe Kids Thailand) ประกอบด้วย 6 แผนงาน ดังต่อไปนี้
?แผนงาน 1 การเฝ้าระวังความปลอดภัยในเด็ก (child safety watch) พัฒนาระบบข้อมูลการเฝ้าระวังความปลอดภัยในเด็ก โดยเชื่อมโยงระบบข้อมูลต่างๆ ที่มีเข้าด้วยกัน ทำให้เห็นภาพรายละเอียดของการเกิดอุบัติเหตุแต่ละราย และหน่วยงานต่างๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงเพื่อนำไปสู่การป้องกันต่อไป รวมทั้งทำให้เห็นภาพการสูญเสียที่ชัดเจนขึ้นทั้งต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน จัดทำฐานข้อมูลการบาดเจ็บ ข้อมูลที่มีความจำเป็นในการเชื่อมโยงสู่ฐานข้อมูลนี้คือ
-?ข้อมูลการตาย (mortality data) ของกองทะเบียนราษฎร์ โดยพัฒนาการบันทึก การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ในช่วง ?อธิบายการเกิดการบาดเจ็บได้อย่างไร? (the narrative of injury event in death)
-?ข้อมูลการบาดเจ็บในห้องฉุกเฉิน และโรงพยาบาล
-?ข้อมูลเฉพาะทางจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค กองบังคับการตำรวจจราจร กรมทางหลวงโรงเรียน ประกันสุขภาพและประกันชีวิตทั้งภาครัฐและเอกชน
-?ข้อมูลจากสื่อสารมวลชน (วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์)
-?ข้อมูลการรายงานผู้บาดเจ็บ (case report) จากการเก็บข้อมูลโดยตรง

แผนงาน 2 ศูนยจัดการข้อมูลเพื่อสาธารณะ (knowledge management for public use)? จัดตั้งฐานข้อมูลความรู้ โดยรวบรวมจากโครงการวิจัย งานวิจัยอื่นๆ ความรู้จากหน่วยงานต่างๆ ความรู้จากต่างประเทศ แนวโน้มของโลก (global trend) และนโยบายรัฐบาล (government policy) โดยให้หน่วยงานต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันโดย
-?เผยแพร่ความรู้ที่ได้จากชุดโครงการวิจัยสู่ผู้มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่างๆ โดยการเสนอแก่ที่ประชุมเครือข่ายและการขยายผลโดยตรงสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-?สื่อความรู้ที่ได้จากชุดโครงการวิจัยผ่านสื่อสารมวลชนทั้งสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชน องค์กร ผู้กำหนดนโยบาย
-?นำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการ วารสารวิชาการ ของสายวิชาชีพต่างๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อให้เกิดความสนใจในการวิจัยด้านนี้ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญต่างๆ
-?ผลิตหนังสือ เอกสารเพื่อรวบรวมความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินงานวิจัยนี้ ถ่ายทอดสู่ประชาชน หรือนักวิชาการ

แผนงาน 3 ?เครือข่ายความปลอดภัยสำหรับเด็ก? (child safety network) คือการเชื่อมโยงเครือข่ายอันประกอด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ และองค์กรพัฒนาที่เกี่วข้องกับการบาดเจ็บและความปลอดภัยในเด็ก เพื่อรวบรวมสรรพกำลังของทุกหน่วยให้เกิดขึ้นในหลายมิติเพื่อให้ครอบคลุม 20 กลุ่มกิจกรรม คือ
-?เครือข่ายบูรณาการระดับชาติ (comprehensive national network in child safety) คือเครือข่ายเด็กไทยปลอดภัยในส่วนกลาง
-?เครือข่ายบูรณาการระดับท้องถิ่น (comprehensive local network in child safety) เช่น เครือข่ายเด็กไทยปลอดภัยระดับจังหวัด เครือข่ายเด็กไทยปลอดภัยระดับตำบล เป็นต้น
-?เครือข่ายเฉพาะเรื่องตามปัจจัยเสี่ยง (risk oriented network) เช่น เครือข่ายหมวกกันน็อก เครือข่ายสนามเด็กเล่นปลอดภัย เป็นต้น
-?เครือข่ายเฉพาะเรื่องตามกลุ่มพื้นที่หรือกลุ่มบุคคล (setting oriented network) เช่นเครือข่ายโรงเรียนปลอดภัย เครือข่ายชุมชนปลอดภัย เครือข่ายศูนย์เลี้ยงเด็กปลอดภัย เครือข่ายเด็ก เครือข่ายมารดา เป็นต้น

แผนงาน 4 การวิจัย (child safety research) สร้างความรู้และทักษะในการดำเนินการสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บแก่เด็กในระดับชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานในโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก (child safety promotion and injury prevention program) ซึ่งประกอบด้วยทั้งการวิจัยอย่างมุ่งเป้า (directed research) และการสร้างกิจกรรมเพื่อให้เกิดกระบวนการใช้ผลการวิจัยสู่นโยบายสาธารณะ (research to public policy)

แผนงาน 5 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (community empowerment) ในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยสำหรับเด็ก (safe community for children) คือการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (ชุมชน โรงเรียน) ระดับรากหญ้า (grass-root empowerment) ในการพิทักษ์สิทธิความปลอดภัยแก่เด็ก โดยสร้างความมีส่วนร่วมของชุมชน สร้างเครือข่ายระดับล่าง (grass-root coalition) สร้างความรู้และทักษะแก่ชุมชนในการ
-?ค้นหาปัญหาและปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บ
-?เฝ้าระวังการบาดเจ็บ พฤติกรรมเสี่ยง สิ่งแวดล้อมเสี่ยง
-?วางแผน ? ดำเนินการแก้ไข
-?ประเมินผล ? ขยายผลในระดับท้องถิ่น

แผนงาน 6 การขับเคลื่อนสังคมเพื่อสร้างความรับรู้ความเสี่ยง (social motivation for risk perception) และสร้างนโยบายสาธารณะ (social motivation for public policy)
คือการสร้างกระแสสังคมเพื่อยกระดับความรับรู้ความเสี่ยง (risk perception) ของสังคมให้สูงขึ้น และส่งผลให้มีการสร้างนโยบายสาธารณะซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชาชน องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และการเมือง การสร้างกระแสดังกล่าวมีกลยุทธดังนี้
-?ศึกษารูปแบบ และวัฒนธรรมของสื่อต่างๆ ทั้งสื่อท้องถิ่นและสื่อส่วนกลาง ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต โทรคมนาคมอื่นๆ ประยุกต์ข้อมูลให้น่าสนใจเป็นที่ต้องการของสื่อ ปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการนำเสนอของสื่อชนิดต่างๆ นั้น ทั้งนี้เพื่อใช้พลังสื่อมวลชนนี้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด ในการขยายผลและสื่อสารความรู้สู่สังคม
-?นำเสนอข้อมูลโดยใช้กรณีศึกษาที่ส่งผลกระทบจิตใจของคนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่สื่อเสนอนำปลุกกระแสสังคมมาก่อนแล้ว การนำเสนอข้อมูลของปัญหาและแนวทางแก้ไขนี้จะต้องกระทำในกรอบเวลาเร่งด่วนที่สังคมยังตื่นตระหนกหรือมีความต้องการคำตอบอยู่ และต้องนำเสนอเพื่อหวังผลทั้งให้ประชาชนได้รับความรู้และเพื่อให้กระทบต่อองค์กรหรือนโยบายซึ่งต้องได้รับการปรับเปลี่ยน
-?สร้างเครือข่ายและสนับสนุนความเข้มแข็งซึ่งกันและกันกับสื่อเฉพาะทางด้านความปลอดภัยและสื่อด้านการดูแลเด็ก
-?สร้างกระแสเรื่องความปลอดภัยของเด็กให้เป็นบรรทัดฐานของสังคมที่ทุกหน่วยต้องคำนึงถึง
o?ในภาครัฐมุ่งเน้นการสร้างกระแสให้เกิดความรับผิดชอบต่อเด็ก
o?ในภาคเอกชนมุ่งเน้นทั้งแระแสความรับผิดชอบและการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรที่มีการผลิตหรือบริการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยในเด็ก รวมทั้งให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการสร้างานความปลอดภัยเด็กและใช้ความมีส่วนร่วมนั้นเป็นภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรได้ (หากไม่มีความขัดแย้งของผลิตภัณฑ์หรือบริการต่อความปลอดภัยของเด็ก)
o?ให้มีการเอื้อข้อมูลเพื่อให้ภาคการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและส่วนกลางได้ใช้ประโยชน์ในการสร้างนโยบายหลังจากนั้นมีการติดตามการปฏิบัติตามนโยบายเหล่านั้น
-?ผลิตสื่อการเรียนรู้แก่เด็ก ประชาชนทั่วไป ผู้นำชุมชน องค์กร และผู้กำหนดนโยบาย
-?จัดการอบรมเชิงวิชาการเผยแพร่ความรู้แก่ ผู้ดูแลเด็ก ชุมชน องค์กรท้องถิ่น โรงเรียน หน่วยงานต่างๆ

แหล่งทุน
1.?สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
2.?สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
3.?งบประมาณแผ่นดิน (มหาวิทยาลัยมหิดล)

2. การติดต่อ
ที่อยู่?270 ถ.พระราม 6
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ ? 02-2012382
โทรสาร 02-2012382
เว็บไซต์?
www.csip.org, www.safethai2007.com
อีเมล

3. ผู้เชี่ยวชาญในองค์กร
(1) รองศาสตราจารย์นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ตำแหน่ง?รองศาสตราจารย์นายแพทย์
ที่อยู่?270 ถ.พระราม 6
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ ? 02-2012382
โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08-1682-8772
โทรสาร 02-2012382
เว็บไซต์?
www.csip.org, www.safethai2007.com
อีเมล
?
(2) นางงามตา รอดสนใจ
ตำแหน่ง?นักวิจัย
ที่อยู่?171/3081 ถ.พหลโยธิน
?แขวงสายไหม เขตสายไหม
?กรุงเทพฯ 10220
โทรศัพท์ ? 02-2012382
โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08-1408-2590
โทรสาร 02-2012382
เว็บไซต์?
www.csip.org, www.safethai2007.com
อีเมล
?
(3) นางสาวชฎาพร สุขสิริวรรณ
ตำแหน่ง?นักวิจัย
ที่อยู่?114 ถ.ตากสิน
?แขวงบุคคโล เขตธนบุรี
?กรุงเทพฯ 10600
โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08-1424-3874
โทรสาร 02-2012382
เว็บไซต์?
www.csip.org, www.safethai2007.com
อีเมล

(4) นางสาวกรวิการ์ บุญตานนท์
ตำแหน่ง?นักวิจัย
ที่อยู่?257 ถ.บางเดิม
?ต.บางเดิม อ.เมืองสมุทรสาคร
?จ.สมุทรสาคร 74000
โทรศัพท์ ? 02-2012382
โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08-1701-0411
โทรสาร 02-2012382
เว็บไซต์?
www.csip.org, www.safethai2007.com
อีเมล

4. ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ เอกสารเผยแพร่

งานวิจัย
??Ruangkarncahnasetr S, Plitponkarnpim A,Hetrakul ,KongsaKorn.Youth risk behavior survey: Bangkok, Thailand. J Adolesc Health.2005 Mar;36(3):227-35
??Preutthipan A, Poomthavorn P, Sumanapsan A, Chinrat B,Thasuntia S, Plitponkarnpim A,Chantarojanasiri T A prospective,randomized double-blind study in children comparing two doses of nebulized L-epinephrine in postintubation croup.J Med Assoc Thai. 2005;88:508-12
??Duronggrittichai V,Tongvichean S, Silapasuwan P,Plitponkarnpim A, Nontapatamadul K. Caregiver self-help group development for preschooler home injury prevention:community-action research perspective. Thai J Nurs Res 2003; 7:23-36
??Plitponkarnpim A. Burden of injuries in Asian children. Asian-Oceanian J Pediatr Child Health 2004;2:1-13
??Suriyawongpasal P, Plitponkarnpim A,Tawornchai A Application of 0.05 percent legal blood alcohol limits to traffic injury control in Bangkok. J.Med Assoc Thai.2002;85:496-501
??Plitponkarnpim A, Anderson R,Jansson B,Svanstorm L. Unintentional injury mortality in children: a priority for middle income countries in the advanced stage of epidemiological transition. Injury Prevention 1999;5:98-103
??Plitponkarnpim A,Andersson R, Horte LG, Svanstrom L.Trend and current status of child injury fatalities in Thailand compared with Sweden and Japan. J Safety Res 1999;30:163-71
??Plitponkarnpim A, Ruangkanchanasetr S, Thanjira S. Pediatric injuries in emergency room, Ramathibodhi Hospital. J Med Assoc Thai 1999;82:S168-73

งานแต่ง เรียบเรียง แปลหนังสือ หรือเขียนบทคความทางวิชาการ
??Plitponkarnpim A. Injury : emergency health problem in Thai children. Asian-Oceanian J Pediatr Child Health 2004
??Church A, Plitponkarnpim A. Emergency medicine in Thailand. Ann Emerg Med 1998;32:93-7.
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บในเด็กไทย 0-5 ปี และการจัดการความเสี่ยง. Samitivej Proceedings 2547 , หน้า 265-81
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ? ข้อแนะนำความปลอดภัยในการใช้เตียงสำหรับเด็กในโรงพยาบาล หนังสือคลินิก วารสารเวชปฏิบัติและการใช้ยา 2546;19 : 865-71
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ชฏาพร สุขสิริวรรณ จิรวุฒิ ศิริรัตน์ โรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย เอกสารประกอบการประชุม เชิงวิชาการเรื่อง โรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์? ธรรมนูญ เฮงษฏีกุล ชฏาพร สุขสิริวรรณ และคณะข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของสนามเด็กเล่น อุปกรณ์เครื่องเล่น การติดตั้ง การบำรุวรักษา เอกสารประกอบการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง โรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ และเอกสารประกอบการประชุม เรื่องสัมมนาโครงการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้บริการสวนสนุก อุปกรณ์เครื่องเล่น และสนามเด็กเล่น จัดโดยสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค 21 ก.พ.46 ที่โรงแรมปริ๊นพาเลซ
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ . ผลิตภัณฑ์อันตรายที่ก่อให้เกิด่การบาดเจ็บในเด็ก. ใน : กมล กมลตระกูลมคริส เบอเกอร์,จรัญ โฆษณานันท์มจักรกฤษณ์ ควรพจน์,ชลธิรา สัตยาวัฒนา,โชคชัย สุทธาเวศ,วิไล ณ ป้อมเพชร, อัจฉรา ฉายากุล บรรณาธิการ.วารสารนวิชาการสิทธิมนุษยชน กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ อุษาการพิมพ์ กรุงเทพฯ,2546 : 37-57
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์? จากการวิจัยสู่ความปลอดภัยสู่ความปลอดภัยในการเล่นของเด็ก หนังสือคลินิก วารสารเวชปฏิบัติและการใช้ยา 2546;19: 765-71
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์? การป้องกันการบาดเจ็บที่พบบ่อยในเด็กก่อนวัยเรียน.ใน : กาญจนา ตั้งนรารัชชกิจ, สุพร ตรีพงษ์กรุณา,นลินี จงวิริยะพันธุ์,พงษ์ศักดิ์ โค้วสถิตย์, สุรางค์ เจียมจรรยา บรรณาธิการ. กุมรเวชศาสตร์ : แนวปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์,2546:27-39.
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์? จมน้ำ...สาเหตุการตายอันดับหนึ่งของไทย.หมอชาวบ้าน 2546;25: 17-24
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. สนามเด็กเล่นที่ปลอดภัยในหนังสือรายงานการดำเนินงานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) ประจำปี 2545,หน้า 19-21
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์.เวชศาสตร์ฉุกเฉิน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ เรื่อง การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน,2545 หน้า 186-97
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. การให้สารน้ำและยาทางไขกระดูก : ทางเลือกฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยเด็ก. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่อง การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน,2545 หน้า 186-97
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. บทบาทของบุคคลากรในงานเวชศาสตร์ฉุกแนต่อการป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่อง การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน, 2545 หน้า 210-5.
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. ,สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์.ปัญหาสุขภาพของวัยรุ่นไทย : ภาพรวมจากอดีตสู่ปัจจุบันและอนาคต: 18-25
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. อุบัติเหตุจราจร : เหตุนำการตายในวัยรุ่น:41-47
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. ปัญหายาบ้านในเด็กนักเรียนและวัยรุ่น : 48-79 ใน : สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์,ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล, กาญจนา ตั้งนรารัชชกิจ บรรณาธิการ.กุมารเวชปฏิบัติก้าวหน้า 3 : จากการรักษาสู่การสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ :? โรงพิมพ์เม็ดทราย,2544
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. Child mortal and morbidity in the next decade : 7-11
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์.Conscious sedation and analgesia in pediatric ambulatory office : 24-8
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์.Injury prevention in well child care : 86-95
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์.Sports medicine : 429-33
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, พรชัย มูลพฤกษ์. Bow legs and Knock knees :592-3
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, พรชัย มูลพฤกษ์. Foot deformities : 594-5
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์,พรชัย มูลพฤกษ์.In-toeing and out-toeing : 596-7
??อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. Substance abuse :611-5
ใน:สุวรรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์,อมรศรี ชุณหรัศมิ์,นิชรา เรืองดารกานนท์,อดิศักดิ? ผลิตผลการพิมพ์ บรรณาธิการ. Ambulatory pediatric2. กรุงเทพฯ : บริษัทโฮลิสติก พับลิชชิ่งจำกัด, 2542.

6. วันเดือนปีที่ปรับแก้ข้อมูล
?10 กันยายน 2549