"ครอบครัวเครือข่าย" กับทัศนคติเรื่องครอบครัว
ต้องให้อภัยซึ่งกันและกันได้ ใครง้อใครก่อนก็ได้
ต้องดูแลกัน และรักษาน้ำใจซึ่งกันและกัน
คุณสุกัญญา ภูษณะมงคล "ครอบครัวแสนสนุก"
เข้าใจซึ่งกันและกัน พูดกัน หารือ
สื่อสารกันภายในครอบครัวได้อย่างเป็นเรื่องธรรมดาง่ายๆ
คุณรุ่งโรจน์ จตุรภุชพรพงศ์ "ครอบครัว วี.ไอ.พี.เบ๊บ"
ช่วยเหลือกัน แก้ปัญหาและพัฒนาจิตใจ ให้อยู่ในความพอเพียง
(เช่น พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่) แค่นี้
คิดว่าครอบครัวในสังคมไทยจะเป็นสุข
ครอบครัว 5 วัย
มีความเอื้ออาทรต่อกัน…รู้ทันปัญหาของสังคมที่ซับซ้อนขึ้น…
มีการพัฒนาทั้งกายและจิต โดยมีสังคมคอยเกื้อหนุน…
มีค่านิยมที่ไม่เน้นวัตถุ หรือรูปแบบภายนอก…เสียสละเพื่อส่วนรวม…
ครอบครัว "วีระสุขสวัสดิ์"
..............................................................................................................................
รู้จักเรา "มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว"
เรา…ทำอะไร…ที่ไหน…และอย่างไร…
มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มีบทบาทหน้าที่ในการประสานงาน
และสร้างความตระหนักในการส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้เกิดขึ้น
ทั้งในบุคคล ชุมชน สังคม และโดยเฉพาะในหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน
ด้วยการนำเสนอรูปแบบกิจกรรมครอบครัวที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาสถาบันครอบครัวไทยให้เข้มแข็ง
และรวมกลุ่มครอบครัวต่างๆเข้าเป็นเครือข่ายเพื่อให้ความช่วยเหลือกันและกัน
และเรียกร้องต่อรองทวงสิทธิ์อันพึงมีของครอบครัว
งานของเรา…มีอะไร…และเพื่อใคร…
มูลนิธิเครือข่ายครอบครัวเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2542
เกิดจากการรวมกลุ่มของพ่อแม่กลุ่มหนึ่งที่ต้องการร่วมกันปฏิรูปการศึกษา
และพัฒนาเติบโตขึ้นเป็นมูลนิธิฯที่มีเป้าหมายกว้างขวางขึ้น
เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวไทยมีความเข้มแข็ง มั่นคง
กิจกรรมของเรา
1. ศูนย์การเรียนรู้ของครอบครัว
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำกิจกรรมที่ดี มีประโยชน์ร่วมกันภายในครอบครัว
และเพื่อให้เด็ก ๆ ได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุข
โดยผ่านกิจกรรมต่างๆดังนี้
"กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันของครอบครัว"
จัดอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะให้กับครอบครัวในการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
และเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยดึงเด็กให้ห่างจากทีวีและเกมส์คอมพิวเตอร์
ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสำคัญของครอบครัวส่วนใหญ่ กิจกรรมที่จัดอบรม
เช่น การทำอาหารมังสวิรัติ, การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้,
การทำผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษใช้ในบ้าน เป็นต้น
คู่มือครอบครัว "การเรียนรู้ร่วมกันของครอบครัว"
จัดทำคู่มือแนะนำกิจกรรมภายในครอบครัวที่เด็ก ผู้ปกครอง
และทุกคนในบ้านสามารถทำร่วมกันได้ โดยเน้นการสื่อสารทางบวก ระหว่าง
การทำกิจกรรมเพื่อให้ครอบครัวเกิดทักษะในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว, การประดิษฐ์ของเล่น, การทำผลิตภัณฑ์ สบู่
ยาสระผม ยาสีฟัน เป็นต้น
"ห้องสมุดครอบครัว"
จัดหาและรวบรวมหนังสือดี มีประโยชน์ต่อครอบครัว
จัดเป็นห้องสมุดสำหรับครอบครัว เพื่อให้ครอบครัวได้ศึกษาหาความรู้ร่วมกัน
และสามารถยืมหนังสือเหล่านี้ไปศึกษาร่วมกันภายในครอบครัวได้อย่างต่อเนื่อง
"ค่ายครอบครัว"
เน้นการเสริมสร้างความรู้ ทักษะและความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
และเครือข่ายครอบครัว เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและครอบครัว
ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น จนเกิดเป็นกลุ่มช่วยเหลือกันและกัน (Self help group)
2. สร้างเครือข่ายครอบครัวในกลุ่มต่างๆ
เครือข่ายพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว (Single parent )
จัดกิจกรรมโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาการดูแลบุตร
และผู้ปกครองหลังการหย่าร้าง โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือ
ในช่วงภาวะวิกฤติให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข
และสามารถจัดตั้งเป็นกลุ่มครอบครัวช่วยเหลือกันและกัน (Self help group)
ได้อย่างเข้มแข็งและมั่นคง
เครือข่ายครอบครัวแนวพุทธ
เป็นการรวมกลุ่มของครอบครัวที่สนใจในการฝึกฝนตนเอง
และบุคคลในครอบครัว ถึงเรื่องสมาธิเพื่อให้เกิดความสงบสุข และเรื่องสติเพื่อให้เกิด
การปล่อยวาง อันจะเป็นการเริ่มต้นของการสร้างรากฐานแห่งความรักและความสุขในครอบครัว
เครือข่ายครอบครัวในที่ทำงาน
เพื่อให้พ่อแม่ และผู้ปกครองในสถานประกอบกิจการ
ได้พัฒนาความรู้ และทักษะในการดูแลเลี้ยงดูบุตรและจัดการปัญหาภายในครอบครัว
ได้อย่างเหมาะสม สามารถรวมกลุ่มครอบครัวในที่ทำงานเพื่อช่วยเหลือกันและกัน
(Self help group) ได้
เครือข่ายครอบครัวร่วมพัฒนากระบวนการเรียนรู้และส่งเสริมพฤติกรรมเด็กในโรงเรียน
เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวและโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กร่วมกัน
โดยเฉพาะการเน้นให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกับเด็ก
และครูผู้สอนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี เก่ง และมีความสุข
3. ครอบครัวรวมพลัง
" Family poll "
สำรวจความคิดเห็นของครอบครัวทั่วไปในประเด็นต่างๆ
ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็กและครอบครัว เช่น
เราจะสร้างสื่อโทรทัศน์ให้สร้างสรรค์เพื่อเด็กไทยได้อย่างไร,
อิทธิพลของสื่อส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กอย่างไร เป็นต้น โดยจะทำการสำรวจอย่างต่อเนื่อง
และนำผลการสำรวจเสนอต่อสาธารณชน เพื่อให้ทุกส่วนของสังคม
มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
จัดเสวนา "ครอบครัวรวมพลัง"
นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ(Family poll) จัดเสวนาเปิดประเด็น
เพื่อให้นักวิชาการ คนทำงานด้านเด็กและครอบครัว สื่อมวลชน
พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้แลกเปลี่ยนทัศนะ ประสบการณ์ และสรุปความคิดเห็น
และเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา ครอบครัวร่วมกัน
4. สำนักข่าวครอบครัว
นำเสนอข่าวที่ให้ประโยชน์ต่อการพัฒนาสถาบันครอบครัว
ทั้งที่เป็นข่าวเกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้ ทักษะในการดูแลเด็ก
ข่าวที่เสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของสมาชิกในครอบครัว
ข่าวส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กและครอบครัว
ข่าวความเคลื่อนไหวกิจกรรมของกลุ่มครอบครัวต่างๆ
และผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสถาบันครอบครัว
ข่าวตัวอย่างครอบครัวที่มีกิจกรรมดีๆภายในครอบครัว
ข่าวงานวิจัยดีที่มีประโยชน์ต่อครอบครัว
ข่าวทั้งหลายเหล่านี้เป็นข่าวที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อให้ครอบครัวได้รับความรู้ที่กว้างขวางขึ้นเพื่อนำไปพัฒนาครอบครัวตนเอง
ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งรายการวิทยุ (รวมถึงวิทยุชุมชนด้วย) เว็บไซต์
เสียงตามสายในที่ทำงาน ชุมชน สื่อสิ่งพิมพ์ และบทความ ข่าว ต่างๆ
ร่วมสนับสนุนงานของเรา
คำว่า "ครอบครัว" มี ความหมายมาก สำหรับการก่อร่างสร้างมนุษย์ขึ้นมาให้เป็น
คนเก่ง คนดี ในสังคม แต่คำว่า "ครอบครัว" สำหรับเด็กๆ อีกหลายๆ คน
กับทำให้เขาต้องเติบโตเป็นมนุษย์ที่สร้างปัญหามากมายในสังคม
เราจะช่วยกัน เสริมสร้างครอบครัวไทยเราให้เข้มแข็ง เพื่อให้เกิดสิ่งดีๆ เพิ่มมากขึ้นในสังคม
ร่วมบริจาค เพื่อสนับสนุนกิจกรรมและการทำงานของมูลนิธิฯได้ โดย
เช็ค สั่งจ่าย มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ในนาม มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางซ่อน เลขที่บัญชี 039-2-43024-5
ธนาคารกรุงเทพ สาขาวงศ์สว่าง เลขที่บัญชี 194-0-56301-6
|