Accessibility help

เมนูหลัก

โรคทางจิต

  • ทุกปัญหาสุขภาพจิตเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว มีทางออกด้วยการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ทั้งให้คำปรึกษาและบำบัดรักษาอาการต่างๆ ของลูกคุณได้ ก่อนที่เวลาจะล่วงลเลยจนพวกเขาเติบโตเป้นผู้ใหญ่ เราขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองพาลูกเข้าไปรับการดูแลได้ที่ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นแห่งชาติราชนครินทร์ค่ะ โดยบริการของสถาบันมีดังต่อไปนี้
  • คนเราแต่ละคนมีจิตใจแข็งแรงไม่เท่ากัน ความสามารถ ในการรับความกดดันในชีวิตจึงมีไม่เท่ากัน ปัจจุบันระดับความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตผู้คนในสังคมมีสูงมาก คนที่ประสบภาวะเครียด บ่อยๆเป็นระยะเวลายาว นานบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการอ่อนล้าทางด้านจิต ใจ หรือบางคนอาจเรียกว่า "จิตตก" ได้
  • ฮิสทีเรีย (Hysteria) เป็นชื่อเรียก โรคทางจิตเวชในกลุ่ม Somatoform Disorders ของอาการทางประสาทชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่เป็นฮิสทีเรีย จะมีอาการ เกี่ยวกับ การควบคุมอารมณ์ การควบคุมจิตสำนึก ด้านการกระทำลดลง และความกลัวต่าง ๆ โดยอาการฮิสทีเรียนั้น ถือว่าเป็นชนิดหนึ่งในประเภทของ โรควิตกกังวล ก็ว่าได้ หรือจะเป็น โรคขาดความอบอุ่น ก็ได้เช่นกัน
  • อาการซึมเศร้าเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการฆ่าตัวตาย ฉะนั้น การป้องกันการฆ่าตัวตายก็คือ การป้องกันมิให้เกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งทำไม่ได้เสมอไป สิ่งที่ทำได้แน่นอนที่สุดก็คือ การบำบัดอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นแล้วนั้นให้ทุเลา หรือให้หมดไป ความเศร้าเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งในชีวิต มนุษย์ทุกคนต้องเคยผ่านมา เพราะความเศร้าเกิดจากความผิดหวัง, ล้มเหลว, หรือสูญเสีย นี่เป็นประสบการณ์ธรรมดาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ อาจจะมีเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างอื่นอีกมาซ้ำเติม ที่ทำให้เกิดความเศร้า เช่น
  • โรคไบโพลาร์ หรือที่เรียกว่าโรคอารมณ์สองขั้ว หรือที่ชาวบ้านเรียกคุ้มดีคุ้มร้าย เป็นโรคทางจิตเวชที่แสดงอาการและพฤติกรรมผิดปกติจากอารมณ์ มีอาการเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงอารมณ์พุ่งสูง (Mania) จะร่าเริง กล้า มีพลังมาก มั่นใจในตัวเองสูง ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย สลับกับช่วงอารมณ์ดิ่งเศร้า จะเบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่มีความสุข มองเห็นตัวเองไม่มีคุณค่า...พบโรคนี้ได้ถึงประมาณ 1.2% ของประชากร นั่นคือในประเทศไทยมีผู้ป่วยไม่น้อยกว่า 7 แสนคน ส่วนใหญ่เริ่มเป็นในช่วงอายุ 15-24 ปี แต่สามารถพบได้ตั้งแต่เด็ก 5-6 ขวบ จนถึงวัยชรา 80 ปี
  • ผลการวิจัยจากทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารด้านกุมารเวชศาสตร์และเวชศาสตร์วัยรุ่น พบความเชื่อมโยงระหว่างการรับควันบุหรี่มือสองและการเกิดปัญหาทางจิตในเด็ก เป็นต้นว่าอาการไฮเปอร์แอคทีฟ และปัญหาด้านพฤติกรรมไม่ดี