4 เครือข่ายร้อง กสทช.เอาผิด “เวิร์คพอยท์” ปล่อยภาพสาวโชว์อก


ขอเชิญพาลูกเข้าร่วมกิจกรรม "ศิลปะกับการสร้างจินตนาการ"

"ดูแลสุขภาพอย่างไร ห่างไกลโรคมะเร็ง"
เอเอฟพี - จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 75% ภายในปี 2030 ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางประชากรศาสตร์และรูปแบบการใช้ชีวิต ผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิทยาเนื้องอกแลนเซ็ต ระบุ
ทีมนักวิจัยซึ่งนำโดย เฟร็ดดี เบรย์ จากองค์กรนานาชาติเพื่อการวิจัยด้านโรคมะเร็ง (IARC) เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส เผยว่า เมื่อปี 2008 มีผู้ป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นราว 12.7 ล้านคน และจะเพิ่มเป็น 22.2 ล้านคนภายในปี 2030 โดยร้อยละ 90 ของผู้ป่วยจะอยู่ในประเทศยากจน
ในหลายประเทศ จำนวนผู้ป่วยมะเร็งจากการติดเชื้อลดน้อยลง เมื่อเทียบกับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งทวารหนัก, มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งล้วนมีสาเหตุจากความนิยมรับประทานอาหารแบบตะวันตก
ผลการศึกษาชิ้นนี้ใช้ข้อมูลจาก GLOBOCAN ซึ่งเป็นฐานข้อมูลโรคมะเร็งของ ไอเออาร์ซี ใน 184 ประเทศ
ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด, มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งต่อมลูกหมาก คิดเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดในประเทศร่ำรวย เมื่อปี 2008 ขณะที่ประเทศระดับกลางจะพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งในช่องท้อง และมะเร็งตับ มากที่สุด
อย่างไรก็ดี ทั้ง 2 กลุ่มประเทศมีสถิติผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งช่องท้องลดลง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
สำหรับกลุ่มประเทศยากจน มะเร็งปากมดลูกยังเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด รองลงมาคือมะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ
“หากแนวโน้มซึ่งว่าด้วยชนิดของมะเร็งและเพศของผู้ป่วยยังเป็นไปตามที่ผลวิจัยนี้ระบุ เราทำนายว่า จำนวนผู้ป่วยมะเร็งใหม่รวมทุกประเภท จะเพิ่มจาก 12.7 ล้านคนในปี 2008 เป็น 22.2 ล้านคนในปี 2030” ผลวิจัยระบุ
“แนวโน้มดังกล่าวอาจลดลงได้ หากออกยุทธศาสตร์ป้องกันตั้งแต่ต้น บวกกับการฉีดวัคซีน, ตรวจสุขภาพเพื่อหาเชื้อมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก และจัดโครงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพพอ”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 1 มิถุนายน 2555 11:45 น |
ความเชื่อที่เคยได้ยินมา...
วิทยากรโดย...มูลนิธิหมอชาวบ้าน
พญ.จินตนา มโนรมภัทรสาร
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู มหาวิทยาลับมหิดล
ณ Family Learning Room
ชั้น 2 อาคารวีรสุ ดิอเวนิวแจ้งวัฒนะ
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2555 เวลา 09.00-12.00 น.